Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47313
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 : ศึกษาเฉพาะกรณีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิ ของผู้ติดยาเสพติด
Other Titles: Legal problems on the narcotic addicts rehabilitation act of 1991 : a case study of the provision protecting the right of narcotic addicts
Authors: สุรางค์ เจียรณ์มงคล
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
วิชา มหาคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: คนติดยาเสพติด -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
คนติดยาเสพติด -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 เป็นมาตรการทางกฎหมายที่มีหลักการมุ่งเน้นประสิทธิภาพในการลดจำนวนผู้ติดยาเสพติด ด้วยวิธีการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารบังคับบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่ตกเป็นผู้ต้องหาให้พ้นจากการติดยา ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้ โดยยังมิต้องเข้ารับการพิจารณาจากศาล ซึ่งมาตรการทางกฎหมายดังกล่าว แม้จะเหมาะสมสำหรับการสนองตอบต่อนโยบาย เพื่อมุ่งลดความต้องการยาเสพติดและแก้ไขช่วยเหลือผู้ติดยาของรัฐ แต่จาการศึกษาพบว่ายังไม่ได้รับการบัญญัติให้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเพียงพอ โดยคงมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดในเรื่องความชัดเจนบางประการอันอาจก่อให้เกิดปัญหาจาการใช้ดุลพินิจกระทำการโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่แห่งรัฐ ที่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพในร่างกายของบุคคลได้โดยง่าย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องอุดช่องว่างที่เป็นปัญหาของพระราชบัญญัติพื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 เพื่อให้เป็นกฎหมายที่มีความชัดเจน ป้องกันมิให้สิทธิเสรีภาพของบุคคลโดยเฉพาะเสรีภาพในร่างกายถูกละเมิด และเป็นหลักประกันที่ดีว่าบุคคลจะไม่ถูกเจ้าหน้าที่แห่งรัฐใช้อำนาจกลั่นแกล้งอย่างไม่เป็นธรรมได้
Other Abstract: The Narcotic Addicts Rehabilitation Act of 1991 is the measure of law emphasizing to reduce the member of drug addicts. According to the law, the drug addict patients will be submitted to the rehabilitation centre by the administrator for appropriate therapy and rehabilitation, without jurisdiction consultation. Although this legal provision is suitable for the purpose of demand reduction policies and help the patients as well, it is found from a study that, it still connot adequately safeguard the rights and liberties of the people because it has some defections and unclalifications that may easily affect to the personal rights from the unjustifiable discretion of the officer. Therefore, it is necessary to amend this Narcotic Addicts Rehabilitation Act of 1991 in order to make it clear for preventing infringement of personal rights. In addition, it will be guarantee that there is no unjustifiable action to any persons in society.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47313
ISBN: 9746318365
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surang_ji_front.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open
Surang_ji_ch1.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open
Surang_ji_ch2.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Surang_ji_ch3.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
Surang_ji_ch4.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Surang_ji_ch5.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open
Surang_ji_back.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.