Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47427
Title: ผลของการฝึกการแก้ปัญหาตามแนวของเดอซูริลลา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
Other Titles: The effect of problem solving training based on D'Zurilla's technique on mathematics achievement of prathom suksa students with low achievement
Authors: วาลิกา สุขวิเศษ
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: sompoch.i@chula.ac.th
Subjects: การแก้ปัญหา
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกการแก้ปัญหาตามแนวของเดอซูริลลา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประถมศึกษาปีที่ 5 และประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ระดับชั้นละ 10 คน รวมเป็น 30 คน โดยสุ่มมาเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม ระดับชั้นละ 5 คน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ในระยะการทดลองนั้นนักเรียนกลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกการแก้ปัญหาตามแนวของเดอซูริลลา ส่วนกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการฝึกการแก้ปัญหา ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์หลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมทางการเรียนที่เป็นปัญหาหลังการทดลองน้อยกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effect of problem solving training based on D'Zurilla's technique on mathematics achievement of Prathom Suksa students with low achievement. The subjects were 10 Prathom Suksa four students, 10 Prathom Suksa five students, and 10 Prathom Suksa six students from Wat Weruwanaram School. Each student was randomly assigned into the experimental group and the control group with five each in each level. Pretest-Posttest Control Group Design was used in this study. The students in experimental group were received problem solving training based on D'Zurilla's technique while the students in control group were not. The results show that : 1. Students in the experimental group get scores on mathematics learning achievement at the end of the treatment phase statistically significant higher than students in the control group. (p < .05) 2. Students in the experiemental group get scores on achievement behavior at the end of the treatment phase statistically significant higher than students in the control group. (p < .05) 3. Students in the experimental group have problematic academic behavior at the end of the treatment phase lower than students in the control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47427
ISBN: 9746323385
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Valika_su_front.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Valika_su_ch1.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Valika_su_ch2.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Valika_su_ch3.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Valika_su_ch4.pdf966.54 kBAdobe PDFView/Open
Valika_su_ch5.pdf784.22 kBAdobe PDFView/Open
Valika_su_back.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.