Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47744
Title: | การรับรู้ความเป็นจริงในภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ "ขบวนการไบโอแมน" ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The perception of reality in the television series "Bioman" of primary school students in Bangkok Metropolis |
Authors: | ลัดดา วิทยานุภาพยืนยง |
Advisors: | ชุมพร ยงกิตติกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Chumporn.Y@Chula.ac.th |
Subjects: | การรับรู้ในเด็ก -- ไทย ความแท้จริง รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก โทรทัศน์กับเด็ก -- ไทย ภาพยนตร์กับเด็ก -- ไทย |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความเป็นจริงในภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ “ขบวนการไบโอแมน” ของเด็กประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่เรียนในระดับชั้นเรียนต่างกันมาจากครอบครัวที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกันและเพศต่างกัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5 และ 6 ปีการศึกษา 2529 จากโรงเรียนปานะพันธ์วิทยาและโรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจระดับชั้นละ 30 คน เป็นชายและหญิงจำนวนเท่ากันรวมทั้งหมด 180 คนกลุ่มตัวอย่างทุกคนเคยดูภาพยนตร์ชุดขบวนการไปโอแมนมาก่อนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบสัมภาษณ์แบ่งเป็น 2 ตอนคือตอนที่ 1 เป็นคำถามความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับการชมภาพยนตร์ชุดขบวนการไบโอแมน จำนวน 3 ข้อ ตอนที่ 2 เป็นคำถามการรับรู้ความเป็นจริงในเรื่องจำนวน 14 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยผู้วิจัยฉายวีดีโอเทปเรื่องขบวนการไบโอแมนจำนวน 1 ตอนให้กลุ่มตัวอย่างดูแล้วทำการสัมภาษณ์นักเรียนเป็นรายบุคคลผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีคำนวณค่าร้อยละของนักเรียนที่ตอบคำถามตอนที่ 1 การวิเคราะห์ความแปรปรวน 3 ทางและเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กในระดับชั้นเรียนต่างกันรับรู้ความเป็นจริงในภาพยนตร์ชุดนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ในประเด็นเกี่ยวกับตัวแสดงและเหตุการณ์ในเรื่องคือ 1.1 เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 รับรู้ว่าเด็กๆ ในเรื่องขบวนการไปโอแมนมีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเด็กญี่ปุ่นในชีวิตจริงมากกว่าเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 1.2 เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รับรู้ว่าการที่ยิงปืนแล้วมีลำแสงออกมาอย่างในเรื่องขบวนการไบโอแมนสามารถเกิดขึ้นในชีวิตจริงในอนาคตมากกว่าเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ส่วนประเด็นการใช้ประโยชน์จากข้อคิด ความรู้รอบตัวและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากภาพยนตร์ชุดขบวนการไบโอแมนในชีวิตจริงรับรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 2. เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน รับรู้ความเป็นจริงในภาพยนตร์ชุดขบวนการไบโอแมนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ในประเด็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในเรื่องโดยที่เด็กจากครอบครัวที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสูงรับรู้ในเรื่องต่อไปนี้สูงกว่าเด็กจากครอบครัวที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ คือ 2.1 เหตุการณ์ที่มีคนช่วยคุ้มครองโลกเราเช่นเดียวกับพวกไบโอแมนสามารถเกิดขึ้นในชีวิตจริงในอนาคต 2.2 เหตุการณ์ที่คนแปลงร่างเป็นหุ่นยนต์ได้สามารถเกิดขึ้นในชีวิตจริงในอนาคต 2.3 การที่ยิงปืนแล้วมีลำแสงออกมาอย่างในเรื่องสามารถเกิดขึ้นในชีวิตจริงในปัจจุบัน 2.4 การที่ยิงปืนแล้วมีลำแสงออกมาอย่างในเรื่องสามารถเกิดขึ้นในชีวิตจริงในอนาคต ส่วนด้านตัวแสดงและด้านการใช้ประโยชน์จากข้อคิดความรู้รอบตัวและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากภาพยนตร์ชุดขบวนการไบโอแมนรับรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 3. เด็กชายและหญิงรับรู้ความเป็นจริงในภาพยนตร์ชุดนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ในประเด็นเกี่ยวกับตัวแสดงคือเด็กหญิงรับรู้ว่ามนุษย์ไบโอแมนทั้ง 5 คนมีชีวิตเหมือนทหารในชีวิตจริงมากกว่าเด็กชาย ส่วนด้านเหตุการณ์และการใช้ประโยชน์จากข้อคิด ความรู้รอบตัว และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากภาพยนตร์ชุดขบวนการไบโอแมนในชีวิตจริงนั้นเด็กหญิงและเด็กชายรับรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้พบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 95.56% เชื่อว่าภาพยนตร์ชุดนี้เป็นเพียงการแสดงนอกนั้น 4.44% เชื่อว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the perception of reality in the television series “Bioma” of primary school students in Bangkok Metropolis. The subjects consisted of the fourth, fifth and sixth grade student in academic year 1986 from Panaphawittaya School and Soonruamnumjai School. Half of them came from high socio-economic status families. Thirty students, fifteen boys and fifteen girls, were randomly drawn from each grade. Thus, a total of one hundred and eighty students were used in this research. The instrument used in this research was the interview form which was constructed by the researcher. The interview form was devided into two parts. The first part was the three items asking about general opinion in watching this series. The second part was the fourteen items asking about the perception of reality in this series. The researcher collected the data by interviewing each student after watching the video-tape of a “Bioman” series. The data was analyzed by using the percentage, three-way analysis of variance and multiple comparisons by Newman-Keuls’ method. The research findings were as follows: 1. The perceptions about the actor aspect and the event aspect of different grade students were statistically different at the significance level of .05. 1.1 The fourth-grade student perceived more than the sixth-grade students that the children who acted in the series had the way of living similar to the Japanese children in real life 1.2 The sixth-grade students perceived much more than the fourth-grade students that the event in which someone shot a gun, then the laser ray came out as shown in the series might happen in real life in the future. There was no significant difference among the different grade students concerning the perception about the usefulness of thought, general knowledge and scientific knowledge in real life. 2. The perception about the events in the series of the students from high socio-economic status families was higher than the perception of the students from low socio-economic status families, as follows: 2.1 The event in which there would be someone to protect our world in the same way as Bioman might happen in real life in the future. 2.2 The event in which a human being could transform himself into a robot might happen in real life in the future. 2.3 The event in which someone shot a gun, then the laser ray came out as shown in the series could happen in real life in the future. The perceptions about the actor and the usefulness of thought, general knowledge and scientific knowledges in real life of the students from different socio-economic status families were not significantly different. 3. The perception of the boys and the girls about the actor was statistically different at the significance level of .05. The girls perceived more than the boys that the way of life of the five Bioman were similar to those of the soldier in real life. The perceptions about the event and the usefulness of thought, general knowledge and scientific knowledge in real life of the boys and the girls were not significantly different. The findings showed that 95.56% of the subjects believed that this series was just an act and only 4.44% of the subjects believed that it did happen in real life. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47744 |
ISBN: | 9745673986 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ladda_wi_front.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_wi_ch1.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_wi_ch2.pdf | 898.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_wi_ch3.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_wi_ch4.pdf | 980.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_wi_ch5.pdf | 578.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_wi_back.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.