Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47802
Title: | การเปลี่ยนแปลงของระดับเทศโทสเตอโรนในอัณฑะและพลาสมาของกบนา และกบบูลฟรอกในรอบ 1 ปี |
Other Titles: | Annual changes in testicular and plasma testosterone levels in Rana tigerina and Rana catesbeiana |
Authors: | รังสิมา ใช้เทียมวงศ์ |
Advisors: | ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล ผุสดี ปริยานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Prakong.T@Chula.ac.th Putsatee.P@Chula.ac.th |
Subjects: | กบ -- การสืบพันธุ์ เทสทอสเตอโรน ฮอร์โมนเพศ พลาสมา อัณฑะ กบนา กบบูลฟร็อก เรดิโออิมมูโนแอสเสย์ |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากบที่เลี้ยงในฟาร์มว่ามีการสืบพันธุ์เป็นฤดูกาลหรือไม่ โดยการวัดปริมาณฮอร์โมนเพศในพลาสมาและอัณฑะของกบนา (Rana tigerina) และ กบบูลฟรอก (Rana catesbeiana) ในรอบ 1 ปี โดยใช้กบเพศผู้โตเต็มวัย อายุ 12 ถึง 18 เดือน ที่เลี้ยงในฟาร์มจังหวัดเพชรบุรีมาทดลอง โดยเก็บอัณฑะและพลาสมาเพื่อนำมาหาปริมาณเทสโทสเตอโรนด้วยวิธีเรดิโออิมมูโนแอสเสย์ พบว่าปริมาณเทสโทสเตอโรนในพลาสมาของกบนาในเดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคมคือ 1250.80 ถึง 3182.00 พิโกโมลต่อลิตร จะสูงกว่าในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีปริมาณเทสโทสเตอโรนในพลาสมา 163.90 ถึง 219.00 พิโกโมลต่อลิตร ในขณะที่ปริมาณเทสโทสเตอโรนในอัณฑะในเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤศจิกายนมีค่าเท่ากับ 4.96 ถึง 26.7 พิโกโมลต่อกรัมซึ่งจะต่ำกว่าช่วงเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม คือ 50.14 ถึง 102.07 พิโกโมลต่อกรัม และค่าน้ำหนักอัณฑะเทียบกับน้ำหนักตัวเป็นเปอร์เซ็นต์ (gonado somatic index – GSI %) ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม มีค่าเท่ากับ 0.14 ถึง 0.23 เปอร์เซ็นต์ จะสูงกว่าในช่วงอื่นๆ ( 0.03 ถึง 0.08 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งสอดคล้องกับค่าเทสโทสเตอโรนในพลาสมา ปริมาณเทสโทสเตอโรนในพลาสมา จะมีความสัมพันธ์อย่างมากกับ GSI % แสดงว่าช่วงที่ภายในอัณฑะมีการพัฒนามากขึ้น เทสโทสเตอโรนในพลาสมาก็จะสูงขึ้นด้วย (เดือนมีนาคม ถึงเดือนตุลาคม) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน่าจะมีการสืบพันธุ์ในช่วงนี้ ส่วนในกบบูลฟรอกนั้นพบว่าปริมาณเทสโทสเตอโรนในพลาสมาในทุกๆ เดือนจะมีค่าอยู่ระหว่าง 628.44 ถึง 1834.44 พิโกโมลต่อลิตรยกเว้นในเดือนเมษายนซึ่งมีค่าสูงที่สุดคือ 2606.00 ± 75.00 พิโกโมลต่อลิตร และปริมาณเทสโทสเตอโรนในอัณฑะค่อนข้างคงที่ตลอดปี คือมีค่าระหว่าง 2.30 ถึง 5.10 พิโกโมลต่อกรัม แต่ในเดือนพฤษภาคมจะมีระดับสูงที่สุดคือ 8.88±0.90 พิโกโมลต่อกรัม และ GSI% มีค่า 0.09 ถึง 0.16 เปอร์เซ็นต์ พบว่าปริมาณเทสโทสเตอโรนในพลาสมาและในอัณฑะของกบบูลฟรอกจะไม่สัมพันธ์กับ GSI% แสดงว่าอัณฑะมีการพัฒนาได้ตลอดปีได้ตลอดปีโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มของปริมาณเทสโทสเตอโรนในพลาสมา ผลจากการทดลองนี้สรุปได้ว่ากบนาที่เลี้ยงในฟาร์มจะมีการหลั่งเทสโทสเตอโรนสูงในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม ซึ่งอาจถือว่าเป็นช่วงการสืบพันธุ์ของกบนาแตกต่างจากในกบบูลฟรอกที่มีการสร้างและการหลั่งเทสโทสเตอโรนค่อนข้างสม่ำเสมอและมีแนวโน้มที่จะสืบพันธุ์ได้ตลอดปี |
Other Abstract: | The aim of this study was to determine whether farm frogs in Thailand exhibited a breeding season. Annual profiles of testosterone levels in plasma and testis of adult male frogs (age between 12 – 18 months), Rana tigerina and Rana catesbeiana, were performed by radioimmunoassay. Plasma testosterone levels in Rana tigerina increased from March to October (1250.80 to 3182.00 p mol/L) higher than which were found during November to February (163.09 to 219.00 p mol/L) In contrast, testicular testosterone levels were found as low as 4.96 to 26.7 p mol/g during the period of February to November and increased dramatically to 50.17 to 102.07 p mol/g during November to January. Gonado-somatic index (GSI %) was found to be 0.13 to 0.23 % during March to October and 0.03 % to 0.08 % during November to January. Plasma testosterone levels in male Rana catesbeiana did not fluctuate throughout the year, the hormone levels were about 628.44 to 1834.44 p mol/L. The highest plasma level was found in April which was 2606.75±108.87 p mol/L. The similar unfluctuated profile was found in testicular testosterone levels and GSI% which were found to be 2.30 to 5.10 p mol/g and 0.09% to 0.16% respectively (the highest testicular testosterone level was found only in May which was 8.88 ± 0.90 p mol/g). The results indicate that in the same environment, Rana tigerina seems to exhibit a breeding season while Rana catesbeiana exhibit the lack of a breeding season. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สรีรวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47802 |
ISBN: | 9746327097 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rungsima_ch_front.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungsima_ch_ch1.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungsima_ch_ch2.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungsima_ch_ch3.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungsima_ch_ch4.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungsima_ch_back.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.