Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47957
Title: การเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบของตัวสถิติ สำหรับทดสอบอัตตสหสัมพันธ์ของความคลาดเคลื่อน ในการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย
Other Titles: A Comparision on the power of the test statistics for autocorrelation in simple linear regression analysis
Authors: ลักขณา เศาธยะนันท์
Advisors: มานพ วราภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบตัวสถิติทดสอบที่ใช้ทดสอบอัตตสหสัมพันธ์ในการวิเคราะห์ความถดคอยเชิงเส้นอย่างง่าย 3 ตัวคือตัวสถิติทดสอบเดอร์บินวัตสัน ตัวสถิติทดสอบอัลเตอร์เนทีฟเดอร์บินวัตสันและตัวสถิติทดสอบการวิ่ง โดยศึกษาความสามารถในการควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบทั้ง 3 ตัวภายใต้เงื่อนไขของค่าอัตตสหสัมพันธ์ ขนาดตัวอย่าง รูปแบบของตัวแปรอิสระ(xt) ลักษระการแจกแจงของความคลาดเคลื่อนสุ่ม(et) ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้จากการทดลองด้วยเทคนิคมอนติคาร์โลโดยจำลองการทดลองด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ AMDAHL 2586 1000 ครั้ง สำหรับแต่ละสถานการณ์ที่กำหนดเพื่อคำนวณค่าความน่าจะเป็นของความผิดพลาดประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของตัวสถิติทดสอบทั้ง 3 ตัว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 ตัวสถิติทดสอบทั้ง 3 ตัวสามารถควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 ได้เมื่อขนาดตัวอย่างขนาดกลางและขนาดใหญ่ สำหรับทุกรูปแบบของตัวแปรอิสระและลักษณะการแจกแจงของความคลาดเคลื่อนสุ่ม กรณีขนาดตัวอย่างขนาดเล็กสามารถควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 ได้เมื่อรูปแบบของตัวแปรอิสระ(xt) และการแจกแจงของความคลาดเคลื่อนสุ่ม (et) มีลักษณะสมมาตร 2. อำนาจการทดสอบโดยทั่วไปตัวสถิติทดสอบเดอร์บินวัตสันจะให้อำนาจการทดสอบสูงสุดและตัวสถิติทดสอบอัลเตอร์เนทีฟเดอร์บินวัตสันและตัวสถิติทดสอบการวิ่งจะให้อำนาจการทดสอบสูงเฉพาะบางสถานการณ์
Other Abstract: The objective of this study is to investigate the probability of type-I error and the power of Durbin Watson test, Alternative Durbin Watson test and Run test for autocorrelation of random error in simple linear regression analysis under condition of severity of autocorrelation, sample size, independent variable (xt) and distribution of error (e). The data for this experiment were generated through the Monte Carlo simulation technique. The AMDAHL 5860 computer was used to calculate the probability of type-I error and power of the test. The experiment was repeated 1,000 times under each condition at five percent significance level. Result of the study are as follows: 1. Probability of type-I error: Durbin Watson test, Alternative Durbin Watson test and Run test could control the probability of type-I error when the sample size are medium and large for all models of independent variable (xt) and distribution of error (et). All test statistics could control the probability of type-I error when sample size is small and model of independent variable (xt) and distribution of error (et) are symmetry. 2. Power of the test: Durbin Watson test was found to be generally high power for all simulated conditions. The other tests had high power for only some conditions.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47957
ISBN: 9745811157
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Luckhana_sa_front.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Luckhana_sa_ch1.pdf780.94 kBAdobe PDFView/Open
Luckhana_sa_ch2.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Luckhana_sa_ch3.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Luckhana_sa_ch4.pdf7.61 MBAdobe PDFView/Open
Luckhana_sa_ch5.pdf454.92 kBAdobe PDFView/Open
Luckhana_sa_back.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.