Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48088
Title: อิทธิพลของเวลากักน้ำที่มีต่อการทำงานของระบบเอสบีอาร์ แบบไม่มีการระบายตะกอนทิ้ง
Other Titles: Effects of hydraulic deteention times on performance of a semi-batch reactor without excess sludge wastage
Authors: ศักดิ์ชัย สุริยจันทราทอง
Advisors: มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- เอสบีอาร์
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยถึงการทำงานของระบบเอสบีอาร์นี้เริ่มทำการทดลองเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2524 จนถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2525 โดยได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ชุด ชุดละ 6 การทดลองย่อย น้ำเสียที่ใช้เป็นน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีค่าซีโอดี 1000, 2000 และ 3000 มก/ล ตามลำดับ ถังปฏิกิริยาที่ใช้เป็นถังแก้วใสรูปทรงกระบอก มีเวลากักน้ำ 3, 5, 7, 9, 11และ 13 วันตามลำดับ การทดลองชุดที่ 1 ใช้น้ำเสียที่มีค่าซีโอดี 1000 มก/ล แต่ละถึงมีเวลากักตะกอย (ec) 30, 50, 70, 90, 110 และ 130 วัน ตามลำดับ จากการหาค่าพารามิเตอร์ทางจลศาสตร์ (Kinetic Parameter) แล้วพบว่ายีลด์ที่แท้จริง (Yg) เท่ากับ 0.149 และอัตราจำเพราะของการสลายตัวของจุลชีพ (b) เท่ากับ 0.007 ต่อวัน ระบบฯมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีร้อยละ 97-98 และน้ำทิ้งที่ระบายออกจากระบบมีตะกอนแขวนลอยต่ำ การทดลองชุดที่ 2 และ 3 ใช้น้ำเสียที่มีค่าซีโอดี 2000 และ 3000 มก/ล ตามลำดับ โดยได้พยายามควบคุมให้ทุกถังมีเวลากักตะกอนสูงที่สุด จากการหาค่าพารามิเตอร์ทางจลน์ศาสตร์พบว่าค่า b/Yg เท่ากับ 0.0771 ต่อวัน ความเข้มข้นของตะกอนจุลชีพแปรผกผันกับเวลากักน้ำที่เปลี่ยนไป ระบบฯมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีร้อยละ 98 และน้ำทิ้งที่ระบายออกจากระบบมีตะกอนแขวนลอยต่ำ ระบบเอสบีอาร์เป็นระบบกำจัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพสูงและควบคุมง่ายจึงเหมาะสำหรับแหล่งน้ำเสียที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เช่น แหล่งชุมชนขนาดเล็ก, โรงพยาบาลและโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นต้น
Other Abstract: This experimentation on a Semi – Batch Reactor system was performed during October 17, 1981 to February 24, 1982. Three sets of experiment, with COD conc. of 1000, 2000 and 3000 mg/l respectively, had been carried out at six levels of hydraulic detention time; 3, 5, 7, 9, 11 and 13 days. (Each set of experiments consisted of 6 runs) In the first set of experiments with COD conc. of 10000 mg/l, each run was operated at sludge ages of 30, 50, 70, 90, 110 and 130 days respectively. Kinetic analysis revealed that True Growth Yield (Yg) was 0.149 and Specific Decay Rate (b) was 0.007 per day. All systems had COD removal efficiency at 97-98 % and produced good clear effluent water with low SS. In the experiment set no. 2 and 3, using synthetic waste of 2000 and 3000 mg/l COD respectively, all systems had been operated at constant sludge age as high as possible. From the kinetic analysis, b/Yg was found to be 0.0771 per day. The MLVSS concentration was inversely proportional to the detention time. Every system had high COD removal efficiency i.e. 98% and clear effluent water with low SS. The SBR system is one of the high efficient wastewater treatment and easy to operate and control. Thus, it is very appropriate system for small wastewater sources i.e. small urban areas, hospitals and small industries.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48088
ISBN: 9745622885
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakchai_sur_front.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sur_ch1.pdf414.29 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sur_ch2.pdf321.5 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sur_ch3.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sur_ch4.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sur_ch5.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sur_ch6.pdf347.14 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sur_ch7.pdf228 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sur_ch8.pdf212.59 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sur_back.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.