Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48095
Title: แบบแผนการลงคะแนนเสียงชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตชุมชนหนาแน่น เขต 2 กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The voting Behavior of the Sino-Thai Population in the Election of Bangkok Metropolis Constituency 2
Authors: รัชกรณ์ นภาพรพิพัฒน์
Advisors: กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การลงคะแนนเสียง
ชาวจีน -- ไทย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาค้นคว้าแบบแผนพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของชาวไทยเชื้อสายจีนในการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 2 เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2533 ว่าเป็นไปในลักษณะใด โดยพิจารณาถึงเชื้อชาติและวิถีประชาแบบจีนตลอดจนอิทธิพลของสมาคมจีนที่มีต่อการตัดสินใจลงคะแนนดังกล่าว รวมถึงความผูกพันทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยใช้ข้อมูลทั้งจากแบบสอบถาม เอกสาร การสังเกตการณ์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 กรณีของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตสัมพันธวงศ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีความผูกพันในเชื้อชาติและวิถีประชาแบบจีนในระดับสูงทั้งในด้านวัฒนธรรมและลักษณะภาษา มีแนวโน้มที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้สมัครที่มีความเป็นจีน สูงกว่ากลุ่มที่มีความผูกพันต่ำ สำหรับกลุ่มที่มีความแตกต่างด้านอายุนั้นพบว่า ระดับอายุ 51 ปีขึ้นไปมีความผูกพันในเชื้อชาติและวิถีประชาแบบจีนในระดับสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ จึงมีแนวโน้มในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่มีความเป็นจีนสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ในขณะที่ระดับอายุ 41-50 ปี และ 20-40 ปี มีความผูกพันในระดับปานกลางและต่ำ จึงมีแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครที่มีความเป็นจีนในระดับต่ำตามไปด้วย ในประเด็นศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของสมาคมจีนต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนั้น พบว่า ผู้ที่มีระดับอายุ 51 ปีขึ้นไปซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสมาคมจีนได้ตัดสินใจเลือกผู้สมัคร่ตามคำแนะนำของสมาคมจีนยิ่งกว่ากลุ่มคนในระดับอายุต่ำลงมา แต่มีข้อยกเว้นสำหรับอาชีพผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประกอบอาชีพธุรกิจการค้า ซึ่งต้องติตต่อสัมพันธ์กับสมาคมจีนโดยไม่จำกัดอายุ มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเลือกผู้สมัครตามคำแนะนำของสมาคมจีนด้วย สำหรับรูปแบบของความผูกพันทางการเมืองนั้นพบว่า ผู้ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสูงซึ่งมักจะมีระดับการศึกษาสูงด้วย ส่วนใหญ่จะมีความผูกพันในทางการเมืองในระดับค่อนข้างสูงโดยการติดตามข่าวสารข้อมูลทางการเมือง และจะไม่ลงคะแนนเสียงเลือกผู้สมัครโดยคำนึงถึงความเป็นจีน แต่มีข้อน่าสังเกตว่าในทางตรงข้ามผู้ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ ซึ่งมักจะมีระดับการศึกษาในระดับต่ำมีแนวโน้มที่จะมีความผูกพันทางการเมืองในระดับต่ำ แต่ส่วนใหญ่จะมีความศรัทธาในหัวหน้าพรรคการเมืองในระดับสูง แม้จะไม่ได้ผูกพันกับอุดมการหรือความคิดทางการเมืองแต่อย่างใด
Other Abstract: The purpose of this research project is to study the pattern of voting behavior of a group of Sino-Thai population, living in Bangkok Chainatiown area, in the by-election campaign of November 25, 1990. The relationships between the decision to vote and the influence of such factors, such as racial orientations, Chinese folkways, the Chinese professional associations, the changing political environment are thoroughly discussed. The aim is to find out whether the decisions to vote for any candidates are considerably based on which kind of factors i.e. racial, professional or political. The research findings are as follows: 1. The Sino-Thais who have strongly identified themselves with being Chinese, i.e. to practicising Chinese folkways and having the ability to speak, read and write the Chinese language, tend to vote for the candidates represented Chinese race. 2. As far as the age difference is concerned, the Sino-Thais who are over 51 years of age, mostly identified themselves with the Chinese way of life and who also have strong connection with The Chinese professional associations, tend to vote according to the racial as well as professional considerations, On the contrary, the Sino-Thais, aging between 41-50 years and 20-40 years who do not identify themselves strongly with the Chinese way of life, tend to vote for any candidates politically qualified no matter what race or profession do they belong. 3. The study of the relationship between the decision to vote and their political orientations reveals that a group of Sino-Thais with high level of socioeconomic and educational status also have strong affiliations with the various political groups and well oriented with political climate tend to vote according to their political consideration rather than subscribing to the influence of Chinese folkways or following the advice of some Chinese professional associations.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48095
ISBN: 9745795607
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruchakorn_na_front.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Ruchakorn_na_ch1.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Ruchakorn_na_ch2.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
Ruchakorn_na_ch3.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open
Ruchakorn_na_ch4.pdf6.55 MBAdobe PDFView/Open
Ruchakorn_na_ch5.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Ruchakorn_na_back.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.