Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48179
Title: ปัญหาการวัดและประเมินผลวิชาสุขศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 3
Other Titles: Problems of measurement and evaluation in health education subject in secondary schools, educational region three
Authors: สมพงศ์ เรืองศรี
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Tepwanee.H@Chula.ac.th
Subjects: สุขศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การวัดผลทางการศึกษา
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการวัดและประเมินผลวิชาสุขศึกษา สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาด้านการวัดและประเมินผลวิชาสุขศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการวัดและประเมินผลวิชาสุขศึกษาของครูสุขศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนต่างกันในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตการศึกษา 3 ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปยังครูสุขศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 3 ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 220 ฉบับ เป็นครูที่มีประสบการณ์การสอน 0 – 5 ปี จำนวน 107 ฉบับ และครูสุขศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 5 ปี จำนวน 113 ฉบับ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่า 'ที' (t-test) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เอสพีเอสเอสเอกซ์ (SPPSX-Statistical Package for the Social Science X) นำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ครูสุขศึกษามีสภาพการปฏิบัติในระดับมากเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลวิชาสุขศึกษา ในเรื่องการใช้แบบทดสอบปรนัยในด้านความรู้ การใช้การสังเกตในด้านทัศนคติ การใช้สังเกตและปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายกลุ่มในด้านการปฏิบัติ ปัญหาการวัดและประเมินผลวิชาสุขศึกษา ครูสุขศึกษามีปัญหาโดยส่วนรวมและรายด้านในระดับปานกลาง แต่พบว่าในบางข้อย่อยมีปัญหาในระดับมาก ขาดคู่มือและอุปกรณ์ในการวิเคราะห์ข้อสอบ ขาดอุปกรณ์ในการทดสอบปฏิบัติในบางบทเรียน ขาดคู่มือและอุปกรณ์ในการวัดและประเมินผล ขาดความรู้ในการสร้างแบบวัดทัศนคติขึ้นใช้เอง คาบการเรียนวิชาสุขศึกษามีน้อยทำให้การวัดผลด้านการปฏิบัติทำได้ไม่ทั่วถึง การวัดและประเมินผลด้านการปฏิบัติต้องใช้เวลามาก การสังเกตการณ์ปฏิบัตินอกเวลาทำได้ยาก การให้คะแนนการปฏิบัติจากเพื่อน ครู ผู้ปกครองทำได้ไม่ทั่วถึง ครูสุขศึกษาสอนในหลายระดับชั้น จำเป็นต้องออกข้อสอบในหลายรายวิชา ขาดการเก็บรวบรวมข้อสอบที่วิเคราะห์แล้วเป็นธนาคารข้อสอบ ขาดการพบปะกับครูในโรงเรียนหรือกลุ่มโรงเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวัดและประเมินผล เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้านปัญหาการวัดและประเมินผลวิชาสุขศึกษาระหว่างครูสุขศึกษาที่มีประสบการณ์การสอน 0 – 5 ปี และมากกว่า 5 ปี พบว่าไม่มีความแตกต่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of the research were to study the status of measurement and evaluation in health education, to survey the problems of measurement and evaluation in health education and to compare the problems of measurement and evaluation in health education between health education teachers with 0 – 5 years and more than 5 years of teaching experience in secondary schools, educational region three. The questionnaires were sent to health education teachers and 220 of them were returned. The 107 questionnaires were from health education teachers with 0 -5 years of teaching experience and 113 of them form more than 5 years. The obtained data were analyzed in terms of percentage, means and standard deviations. Also the t-test was employed to determine the mean differences. The findings revealed as follows: The procedures mostly used by the health education teachers were: the objective tests for health knowledge, the observation for health attitude, the observation and group-test for health practice. For the measurement and evaluation problems it was found that there were moderate problems in all and each area. But some items in some areas were rated as "high" problem : (1) lack of handbooks and materials in test analysis; (2) lack of materials in measurement and evaluation; (3) lack of handbooks and materials in measurement and evaluation, (4) inadequate knowledge regarding the attitude teacher-made test; (5) inadequate instruction period for testing health-practice; (6) health practice testing consumed much time; (7) student observation outside the classroom was hardly done; (8) health-practice evaluation by peers, other teachers and their parents was hardly done; (9) each health education teacher taught and constructed test for several class levels; (10) no collecting of the screen tests to the health education test bank; (11) no opportunity to share problems and knowledge with other health education teachers. The comparison of problems in measurement and evaluation in health education between health education teachers with 0 – 5 years and more than 5 years of teaching experience revealed that there were no significant differences between the two groups at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48179
ISBN: 9745683078
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompong_ru_front.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ru_ch1.pdf781.5 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_ru_ch2.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ru_ch3.pdf814.19 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_ru_ch4.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ru_ch5.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ru_back.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.