Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48185
Title: พฤติกรรมเชิงประกอบของพื้นสำเร็จรูป ระบบตงคอนกรีตอัดแรง และแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อกับที่
Other Titles: Composite behavisor of floor-joist system with precast prestressed concrete I-joists and cast-in-place reinforced concrete slab
Authors: รังศิยากรณ์ กำประสิทธิ์
Advisors: มานะ วงศ์พิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: พื้น (อาคาร)
คอนกรีตเสริมเหล็ก
คอนกรีตอัดแรง
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานก่อสร้างอาคารได้นำระบบพื้นสำเร็จรูปเข้ามาใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประหยัดราคาไม้แบบ ค่าแรง นอกจากนี้ระบบพื้นสำเร็จรูปหล่อมาจากโรงงานสมารถควบคุมคุณภาพได้ดีกว่า ในการวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงพื้นสำเร็จรูป ระบบตงคอนกรีตอัดแรงและแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อกับที่ ซึ่งประกอบด้วตงคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปแบบอัดแรงก่อน รูปตัวไอ (I) วางห่างกันเป็นระยะๆ และมีแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อกับที่หล่ออมทับตงเหล่านี้ โดยอาศัยแบบหล่อชั่วคราว เพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมทางวิศวกรรมในการใช้งาน โดยทำการสร้าง, ทดสอบตงคอนกรีตอัดแรงและแผ่นพื้นเชิงประกอบที่มีขนาดของหน้าตัดของตง และแผ่นพื้นเชิงประกอบ อย่างละ 2 ขนาด ตามลำดับ มีค่าเปอร์เซ็นต์ของเหล็กเสริมอัดแรงตั้งแต่ .616 ถึง .885 สำหรับตง และตั้งแต่ .060 ถึง .111 สำหรับแผ่นพื้นเชิงประกอบ โดยให้ตงรับน้ำหนักบรรทุกแบบบรรทุกน้ำหนักที่จุดแบ่งสาม และให้แผ่นพื้นเชิงประกอบรับน้ำหนักบรรทุกแบบน้ำหนักบรรทุกแผ่กระจายอย่างสม่ำเสมอ ผลการทดสอบศึกษาพฤติกรรมการรับน้ำหนักบรรทุกของตงและแผ่นพื้นเชิงประกอบพบว่า ส่วนของแผนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อกับที่ ที่หล่ออมทับตงคคอนกรีตอัดแรงไว้นั้น ทำให้เกิดคุณสมบัติเชิงประกอบที่สมบูรณ์ (Fully composite action) ส่วนน้ำหนักบรรทุกแตกร้าวเริ่มแรก (First cracking load) และน้ำหนักบรรทุกประลัย (Ultimate load) มีค่าใกล้เคียงกับน้ำหนักบรรทุกที่คำนวณจากทฤษฎี การคืนตัวของระยะการแอ่นตัว (Recover of Deflection) ของแผ่นพื้นเชิงประกอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้จากการทดสอบกดชิ้นตัวอย่างเพื่อหากำลังรับแรงเฉือนที่ผิวสัมผัสระหว่างตงคอนกรีตอัดแรงกับแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อกับที่ พบว่า ผิวสัมผัสเรียบ และผิวสัมผัสหยาบจะให้ค่าหน่วยแรงเฉือนที่ผิวสัมผัสสูงสุด เท่ากับ 15.77 กก/ซม² และ 27.33 กก/.ซม² ตามลำดับ และจากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในเชิงทฤษฎีของพื้นระบบดังกล่าว กับพื้นระบบอื่นๆ ปรากฎว่าพื้นสำเร็จรูประบบตงคอนกรีตอัดแรงและแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อกับที่นั่นจะมีประสิทธิภาพของโครงสร้างและความค่อนข้างประหยัดดีกว่าพื้นระบบอื่นๆ
Other Abstract: There is a noticeable increase in using industrialized floor system for building construction. The reasons which make such floor systems attractive are : small amount of expenses on wood forms and wages in addition to good quality control of ready prefabricated products from factory. In this study, the floor-joist systems with precast prestressed concrete I-joists and cast-in-place reinforced concrete slabs were tested in order to verify their engineering applicability. The floor-joist systems were constructed such that the reinforced concrete slabs were casted on top of I-joists, using a temporary decking form. The I-joists were spaced at a specified interval. A reasonable embedment of I-joists into the slab was also permitted. Two series of testing were performed : first, on I-joists; and second, on floor-joist systems; using third-point and uniform loading respectively. Percentage of steel used were varied between 0.616 to 0.885 for I-joists and 0.060 to 0.111 for floor-joist systems. It was concluded from the study that the floor-joist system had fully composite action between reinforced concrete floor slab cast on precast I-joists. No significant difference between observed and theoretical first cracking or ultimate loads was indicated. Deflection rebound of the structures due to lading was efficient. In addition to the above study; another test was also performed in order to determine the shearing resistance on the contact surfaces between prestressed and reinforced concrete. It was found that the maximum shearing resistance on smooth and rough surface are 15.77 ksc. And 27.33 ksc. respectively. Comparison of theoretical performance between the floor-joist system in this study and some others was made. It was concluded that the floor-joist system with prestressed concrete I-joists and reinforced concrete slab exhibited the highest efficiently structural and the most economical system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48185
ISBN: 9745623156
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungsiyakorn_gu_front.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
Rungsiyakorn_gu_ch1.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Rungsiyakorn_gu_ch2.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open
Rungsiyakorn_gu_ch3.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Rungsiyakorn_gu_ch4.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Rungsiyakorn_gu_ch5.pdf390.58 kBAdobe PDFView/Open
Rungsiyakorn_gu_back.pdf23.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.