Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48207
Title: | การวิเคราะห์โครงการรับนิสิตวิทยาศาสตร์โดยวิธีพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | An analysis of the special science students recruitment project of Chulalongkorn University |
Authors: | สุวัชรี อินทรวิจิตร |
Advisors: | สุกัญญา โฆวิไลกูล ประไพพิศ มงคลรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | sukanya.k@chula.ac.th Prapaipis.M@Chula.ac.th |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงการรับนิสิตวิทยาศาสตร์ โดยวิธีพิเศษ นโยบายกำลังคน -- ไทย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงการรับนิสิตวิทยาศาสตร์โดยวิธีพิเศษ ซึ่งประกอบด้วยนิสิตทุนและนิสิต วพ.1 ด้วยการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ วิธีการคัดเลือก วิธีดำเนินการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตโครงการกับนิสิตปกติ ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ผู้เกี่ยวข้องและนิสิตโครงการ ศึกษาปัญหาอุปสรรครวมทั้งแนวทางแก้ไข ผลการวิจัย พบว่า 1. โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อแก้ไขปัญหานิสิตออกกลางคัน วิธีการคัดเลือกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะได้นิสิตที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ ในการจัดเรียนการสอนปรากฏว่าไม่แตกต่างจากนิสิตปกติ และนิสิตทุนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างภาคการศึกษาดีอย่างสม่ำเสมอทุกรุ่น แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างภาคการศึกษาของนิสิต วพ. 1 ทุกรุ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ .05 สำหรับวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหานิสิตออกกลางคันได้ผล เพราะนิสิตโครงการมีอัตราการออกกลางคันน้อยกว่านิสิตปกติ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตทุน นิสิต วพ.1 และนิสิตปกติ ที่ศึกษาในชั้นปีเดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นิสิตทุนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุด แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตวพ.1 และนิสิตปกติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้บริหารและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ให้ความสนับสนุนโครงการนี้ เพราะเห็นว่าทำให้ได้นักเรียนที่มีความสนใจทางวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษา และเสนอว่าควรมีการปรับปรุงวิธีดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ และการกำหนด เกณฑ์การรับสมัคร อย่างไรก็ตามไม่ควรมีการจัดการเรียนการสอน กิจกรรม หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เป็นพิเศษแก่นิสิตโครงการ นิสิตส่วนใหญ่มีความพึงพอใจที่ได้เข้ามาศึกษาในโครงการนี้ เพราะได้ศึกษาในสาขาวิชาที่ต้องการศึกษา และสมัครใจที่จะศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ต่อไปจำสำเร็จการศึกษา ส่วนใหญ่เห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์ เพราะสามารถผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานความสนใจทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นกำลังของประเทศชาติในอนาคต |
Other Abstract: | The purpose of this study is to analyze the “Chulalongkorn Science Student Special Recruitment Project”, regarding objectives, recruitment process, implementation and academic achievements. A comparative study of academic achievements between students in the project and ordinary students; opinions from administrators, instructors involved and students in the project were explored. Problems and suggestions as guidelines to improve the project were also provided. Research findings: 1. The objective of this project is to promote and develop students who have talent for science and to reduce the number of freshmen dropouts. Students in the project were divided into 2 categories, namely: scholars and nn scholars. Recruitment process is highly efficient which results in obtaining students of high standard as expected. Teaching and learning procedures adopted for students in the project were the same as that have been exercised among ordinary students. Academic achievements among scholars were high and consistent across the academic years while they were inconsistent significantly among non scholars (p> 0.05). The dropout rates of students in the project was lower than ordinary students. 2. Academic achievements among scholars, non scholars and ordinary students of the same academic level were significantly different at the level of 0.05, being highest in the scholar group and non significantly different at the level of 0.05 between non scholars and ordinary students. 3. The project was accepted among most of the administrators and instructors involved as an efficient mean to gain high potential science student. However they suggested that some improvements in implementation process should be considered, for example: public relations and application procedure; they further suggested that special arrangements for students in the project should not be made. Most students were satisfied with the project because they were able to study in the area they were interested in and intended to continue their education in the faculty of science until graduation. They found the project very useful in generating efficient graduates in science and technology for the country in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48207 |
ISBN: | 9745770507 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suvatcharee_in_front.pdf | 13.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvatcharee_in_ch1.pdf | 7.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvatcharee_in_ch2.pdf | 55.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvatcharee_in_ch3.pdf | 10.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvatcharee_in_ch4.pdf | 85.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvatcharee_in_ch5.pdf | 33.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvatcharee_in_back.pdf | 27.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.