Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48209
Title: ผลของการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุ ด้านความพยายามและด้านกลวิธี ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: Effects of effort and strategy attributional feedback on self-efficacy and achievement in mathematics of Prathom suksa six students
Authors: สุภาพร บุญวัน
Advisors: คัดนางค์ มณีศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kakanang.M@Chula.ac.th
Subjects: ผลย้อนกลับ
การอนุมานสาเหตุในเด็ก
ความสามารถในตนเอง
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านความพยายาม และด้านกลวิธีที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีปัญหาทางการเรียนคณิตศาสตร์ในเรื่องการหาร จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านกลวิธี กลุ่มที่ 2 ได้ข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านความพยายาม และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้รับการทดลองที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านความพยายาม ผู้รับการทดลองที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านกลวิธี และผู้รับการทดลองที่ไม่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกัน 2. ผู้รับการทดลองที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านกลวิธี มีการรับรู้ความสามารถของตน สูงกว่า ผู้รับการทดลองที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านความพยายามและผู้รับการทดลองที่ไม่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุ
Other Abstract: The purpose of this research was to study effects of effort and strategy attributional feedback on self – efficacy and achievement in mathematics of Prathom suksa six students. Subjects were 60 students who lacked division skills from Prathom suksa six. They were divided into 3 groups. The first group was received strategy attributional feedback. The second group was received effort attributional feedback. The third group did not receive attributional feedback. Results showed that 1. There is no statistically significant difference in math achievement scores among subjects who received effort attributional feedback, strategy attributional feedback and those who did not receive attributional feedback. 2. Subjects who received strategy attributional feedback had higher level of self – efficacy than those who received effort attributional feedback and those who did not receive attributional feedback.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48209
ISBN: 9745836591
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_bo_front.pdf663.06 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_bo_ch1.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_bo_ch2.pdf703.84 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_bo_ch3.pdf457.27 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_bo_ch4.pdf329.58 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_bo_ch5.pdf325.33 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_bo_back.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.