Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48319
Title: ผลของการใช้ชุดการสอนเพื่อซ่อมเสริม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ
Other Titles: Effects of using instructional packages for remedial teaching on mathematics learning achievement in fraction of prathom suksa five students with low achievement
Authors: อุไร สินธุวงศานนท์
Advisors: วรรณี ศิริโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดการสอนเพื่อซ่อมเสริม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ 2. เพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดการสอนเพื่อซ่อมเสริม เรื่องเศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดการสอนเพื่อซ่อมเสริมที่ใช้ในการทดลอง มีจำนวน 4 ชุด มีประสิทธิภาพ ดังนี้ เรื่องการบวกเศษส่วน 83.33/80.30 การลบเศษส่วน 83.03/81.85 การคูณเศษส่วน 81.97/82.67 และการหารเศษส่วน 80.17/80.00 2. การใช้ชุดการสอนเพื่อซ่อมเสริมทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดการสอนเพื่อซ่อมเสริม เรื่องเศษส่วน นักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าชุดการสอนเพื่อซ่อมเสริม ทำให้สนุกสนานและอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น ทำให้เข้าใจเนื้อหาหรือบทเรียนเพิ่มขึ้นกว่าการเรียนในชั้นเรียน ทำให้คิดหาคำตอบในการเรียนคณิตศาสตร์ได้คล่องยิ่งขึ้นและทำให้สนุกสนานเพลิดเพลินเวลาทำแบบฝึกหัด
Other Abstract: The purposes of this research were as follows: 1. To study effect of using instructional packages for remedial teaching on mathematics learning achievement in fraction of Prathom Suksa five students with low achievement. 2. To study student’s attitude on using instructional packages for remedial teaching on mathematics of Prathom Suksa five students with low achievement. The findings were as follows: 1. Efficiencies of instructional packages for remedial teaching constructed were as follows : 83.33/80.30 for Addition Fraction, 83.03/81.85 for Subtraction Fraction, 81.97/82.67 for Multiplication Fraction and 80.17/80.00 for Division Fraction. 2. After using instructional packages for remedial teaching, mathematics learning achievement of Prathom Suksa five students with low achievement was higher than the criterion 80 percent at .05 level of significance. 3. Concerning the student’s attitude toward using instructional packages for remedial teaching in fraction, most of the students agreed that the packages helped studying mathematics being more fun and more interesting. The packages also helped them understanding the lesson more, solve the mathematic problems more fluently, and enjoy doing the exercises more.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48319
ISBN: 9745795518
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Urai_si_front.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Urai_si_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Urai_si_ch2.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open
Urai_si_ch3.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Urai_si_ch4.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Urai_si_ch5.pdf853.63 kBAdobe PDFView/Open
Urai_si_back.pdf24.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.