Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48460
Title: การเปรียบเทียบลักษณะนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำแนกตามสาขาวิชา
Other Titles: A comparison of student characteristics classified by area of study of prince of Songkla University
Authors: ละอองทิพย์ เหมะ
Advisors: วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด้านการแสวงหาความรู้ด้านความคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ด้านอารมณ์ด้านสังคมด้านศิลปวัฒนธรรมขนบประเพณีด้านศาสนาและด้านความมั่นใจในตัวเองและรู้จักตัวเองระหว่างนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาสังคมศาสตร์ และสาขามนุษยศาสตร์ โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองเป็นเครื่องมือในการวิจัยจำนวน 427 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีลักษณะด้านศาสนาและการแสวงหาความรู้น้อยกว่าด้านอื่นโดยนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพมีลักษณะทั้งสองด้านน้อยกว่าสาขาอื่นนักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญแก่ด้านศาสนาและด้านศิลปวัฒนธรรมขนบประเพณีน้อยกว่าด้านอื่น สอดคล้องกับเห็นว่าลักษณะทั้งสองนั้นตนเองมีน้อยเช่นกัน เพื่อบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยควรศึกษาวิจัยหาสาเหตุและหาทางแก้ไขซึ่งคงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายได้แก่ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักศึกษา รวมถึงอาจารย์ผู้สอน เช่นการพัฒนาหลักสูตรด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมที่สามารถประยุกต์และใช้ได้ในชีวิตจริง โดยจัดให้เป็นวิชาพื้นฐานมหาวิทยาลัยควรจัดให้มีกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ศาสนาในรูปแบบต่างๆ ที่น่าสนใจเป็นประจำและสม่ำเสมอ นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนก็ควรมีการสอนหลายรูปแบบเพื่อให้นักศึกษามีการเรียนรู้ด้วยตัวเองมากขึ้น
Other Abstract: The purposes of this research study were to investigate characteristics of Prince of Songkla University students in seven categories: Searching For Knowledge, Logical and Creative Thinking, Emotions, Socialization and Social Concern, Arts and Culture, Religions Aspects, Self Confidence and Self Recognition and compared them four areas of study: Physical Sciences, Biological Sciences, Social Sciences and Humanities. The findings revealed that most of the students show less interest in Religion and in Searching for Knowledge than in other categories. This is especially true for Physical Science students. Most students regard Religion and Arts and Culture to be of less significance and thus having less of them in themselves. To achieve the aim of managing the undergraduate curriculum, the university should research into the questions of the causes and the solutions which need the co-operations of many departments including the academic affairs, the student affairs, as well as the lecturers. For example, to develop the curriculum concerning Religion, Arts and Culture that can be used in everyday life, the topic could be made into basic subjects. The University should arrange activities concerning Religion, Art and Culture regularly and the lecturer should include these aspects in their teachings, so the students could further their studies by themselves.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48460
ISBN: 9745762555
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
La-ongthip_ha_front.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
La-ongthip_ha_ch1.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
La-ongthip_ha_ch2.pdf10.61 MBAdobe PDFView/Open
La-ongthip_ha_ch3.pdf943.32 kBAdobe PDFView/Open
La-ongthip_ha_ch4.pdf14.59 MBAdobe PDFView/Open
La-ongthip_ha_ch5.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open
La-ongthip_ha_back.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.