Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48463
Title: การเปรียบเทียบความวิตกกังวลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะบทบาททางเพศต่างกัน
Other Titles: A comparison of anxiety of secondary school students with different sex role traits, Bangkok metropolis
Authors: ลักขณา มูลศรี
Advisors: โยธิน ศันสนยุทธ
จรุงกุล บูรพวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Jarungkul.B@chula.ac.th
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของความวิตกกังวลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครที่มีบทบาททางเพศต่างกันลักษณะบทบาททางเพศแบบใดมีความวิตกกังวลสูงที่สุดและต่ำที่สุดกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสหศึกษาปีการศึกษา 2534 สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เป็นชาย 200 คน หญิง 200 คน โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนจะตอบแบบสอบถาม 2 ชุด ประกอบด้วยแบบสอบถามวัดลักษณะบทบาททางเพศและแบบสอบถามวัดความวิตกกังวลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและทดสอบภายหลังด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่มีบทบาททางเพศต่างกันมีความวิตกกังวลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 2. นักเรียนชายที่มีลักษณะความเป็นชายสูงลักษณะเดียว (Masculinity) มีความวิตกกังวลต่ำที่สุด ส่วนนักเรียนหญิงที่มีลักษณะความเป็นชายสูงลักษณะเดียว (Masculinity) มีความวิตกกังวลไม่แตกต่างจากนักเรียนหญิงที่มีลักษณะความเป็นชานและความเป็นหญิงสูงทั้งคู่ (Androgyny) แต่มีความวิตกกังวลต่ำกว่านักเรียนหญิงที่มีความเป็นหญิงสูงลักษณะเดียว (Femininity) และนักเรียนหญิงที่มีลักษณะความเป็นชายและความเป็นหญิงต่ำทั้งคู่ (Undifferentiated) 3.นักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่มีลักษณะบทบาททางเพศไม่ชัดเจน (Undifferentiated) มีความวิตกกังวลต่ำที่สุด
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the anxiety of secondary school students in the Bangkok Metropolis with different sex role traits, which sex role traits showed have the highest score of anxiety and the lowest score anxiety. The sample included 200 boys and 200 girls from co-educational school students in Academic Year 1991 (B.E. 2534), General Education Department in Bangkok Metropolis. They were selected by the Multi-Stage Random sampling. The instrument in this research was the questionnaire consisted of two parts, the first part was The Sex Role Traits Inventory and the second part was The Anxiety Inventory. The data were analyzed by using Two-Way Analysis of Varience (ANOVA) and Scheffe’s Multiple Comparisons. Results of the study were as follow: 1. Male and Female students with different sex role traits differ significantly in anxiety. (p .100) 2. Male students with masculine sex role traits show the lowest anxiety Female students with masculine sex role traits did not differ significantly from female students with Androgyneous sex role traits, but have lower anxiety than those with feminine and undifferentiated sex role traits. 3. Male and female students with undifferentiated sex role traits have the highest anxiety.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48463
ISBN: 9745814776
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lukkana_mo_front.pdf745.4 kBAdobe PDFView/Open
Lukkana_mo_ch1.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Lukkana_mo_ch2.pdf794.11 kBAdobe PDFView/Open
Lukkana_mo_ch3.pdf697.23 kBAdobe PDFView/Open
Lukkana_mo_ch4.pdf569.27 kBAdobe PDFView/Open
Lukkana_mo_ch5.pdf371.18 kBAdobe PDFView/Open
Lukkana_mo_back.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.