Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48537
Title: การเล่นวีดีโอเกมกับพฤติกรรมทางสังคม ของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Video game playing and social behavior of prathom suksa four school boys in Bangkok metropolis
Authors: ศิริลักษณ์ ศรีวนาสณฑ์
Advisors: อลิสา วัชรสินธุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Alisa.W@Chula.ac.th
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเล่นวิดีโอเกมกับพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 355 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองเพื่อใช้ในการประเมินพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนโดยครูประจำชั้นและผู้ปกครอง ซึ่งแบบสอบถามที่สร้างขึ้นได้ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา รวมทั้งทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีการสอบซ้ำ ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เอส พี เอส เอส พี ซี ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ซื้อเครื่องเล่นวิดีโอเกม นักเรียนที่เล่นเกมคนเดียวและนักเรียนที่ใช้เวลาเล่นเกมมากในวันหยุด มีความสัมพันธ์กับคะแนนพฤติกรรมทางสังคมในระดับต่ำ (73-109) โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และสำหรับนักเรียนที่มีระยะเวลาที่เริ่มเล่นเกมครั้งแรกมาเป็นเวลานาน นักเรียนที่เล่นเกมต่อเนื่อง นักเรียนที่ใช้เวลาเล่นเกมมาในวันจันทร์-ศุกร์ และนักเรียนที่เล่นเกมนอกบ้าน ไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนพฤติกรรมทางสังคม ส่วนในเรื่องของการสนับสนุนจากผู้ปกครองในการเล่นวิดีโอเกมของนักเรียนพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่อนุญาตให้นักเรียนเล่นเกมโดยมีเงื่อนไข (ร้อยละ 50.7) ผู้ปกครองส่วนใหญ่คาดว่าประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการเล่นวิดีโอเกม คือ การได้รับความเพลิดเพลิน (ร้อยละ 82.4) และผู้ปกครองพบว่าการเปลี่ยนแปลงหลังจากการเล่นวิดีโอเกมคือ นักเรียนไม่สนใจคนในบ้าน (ร้อยละ 35.5) นอกจากนี้การศึกษาในเรื่องของความแตกต่างระหว่างคะแนนพฤติกรรมทางสังคมก่อนและหลังเล่นวิดีโอเกม พบว่าคะแนนพฤติกรรมทางสังคมหลังจากที่เล่นวิดีโอเกมลดลง โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และสำหรับคะแนนพฤติกรรมทางสังคมที่ประเมินโดยครูประจำชั้นและผู้ปกครอง พบว่ามีความสัมพันธ์กันโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r=.854)
Other Abstract: This research was to study about the relationship between video game playing and social behavior of prathom suksa four school boys in Bangkok Metropolis. There were 355 cases from the multi-stage sampling. The questionnaire was designed by the researcher for evaluated the students by their teachers and parents. This questionnaire was content validity and used test-retest method to test the reliability. The data was analysed by SPSS PC Program The results of this research showed that the students who bought video game, playing video game alone and playing video game for a long time on holiday were statistically significant at .05 level related to the low social behavior score (73-190) but the students who started to play video game for many years continue playing video game, playing video game for a long time on Monday-Friday and playing video game outside were not statistically related to the social behavior score. The second result about the supportive of the parents on video game playing were found that most of parents permitted their students to play video game on condition (50.7%), most of parents expected that their students should get the benefit from playing video game were having fun (82.4%) and most of parents found that their students’ behavior after playing video game were not pay attention to their family (35.5%). The third result showed that the difference between pre-playing social behavior score was statistically significant at .001 level and the post-playing social behavior score was decreased and the final result found that the relationship between the social behavior score that evaluated by their teacher and parents was statistically significant at .001 level (r=.854)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48537
ISBN: 9745798649
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirilak_sr_front.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Sirilak_sr_ch1.pdf962.42 kBAdobe PDFView/Open
Sirilak_sr_ch2.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Sirilak_sr_ch3.pdf723.82 kBAdobe PDFView/Open
Sirilak_sr_ch4.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Sirilak_sr_ch5.pdf915.7 kBAdobe PDFView/Open
Sirilak_sr_back.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.