Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48558
Title: ผลของการพัฒนาค่านิยมด้านความซื่อสัตย์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้บทบาทสมมุติ
Other Titles: Effects of developing honesty value of prathom suksa five students by role playing
Authors: ศิริวรรณ เจริญจิตต์กุล
Advisors: ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: psy@chula.ac.th
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนด้วยการแสดงบทบาทสมมุติและการสอนด้วยวิธีการธรรมดาต่อการพัฒนาค่านิยมด้านความซื่อสัตย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนวัดด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 90 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ได้คะแนนจากแบบสอบถามค่านิยมด้านความซื่อสัตย์ต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 แล้วสุ่มตัวอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่มทดลอง 2 และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลอง 1 เป็นกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยการแสดงบทบาทสมมุติ กลุ่มทดลอง 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการธรรมดา ส่วนกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการสอนโดยทำการทดลองสัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 1 ครั้ง รวม 4 สัปดาห์ หลังการทดลองผู้วิจัยได้ทำการทดสอบนักเรียนทั้งสามกลุ่มโดยใช้แบบสอบถามค่านิยมด้านความซื่อสัตย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบระดับความมีนัยสำคัญ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ของค่าเฉลี่ยด้วยวิธีทูกี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการแสดงบทบาทสมมุติ และนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการธรรมดา มีการพัฒนาค่านิยมด้านความซื่อสัตย์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการแสดงบทบาทสมมุติมีการพัฒนาค่านิยมด้านความซื่อสัตย์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this experimental research was to study the effect of teaching method using role playing and ordinary method in developing Honesty Value. The subject were 90 Prathom Suksa V Students of Wat Dan Somrong School in Samuthprakan who got low scores under 25 percentile. They were equally divided using simple random sampling into 3 group : the experimental group I, the experimental group II and the control group. The experimental group I was treated with the role playing program and the experimental group II was treated with the ordinary method program whereas the control group was no treated. Each of experimental groups was treated once a day, two days per week, for 4 weeks. After the experiment, the three groups were post tested by the same questionnaire. Data were analysed by using arithmetic means, standard deviation, one-way ANOVA and post-hoc pair-comparison by Turkey Method. Research finding show that : 1) the two experimental groups show a greater increase of developing Honesty Value than the control group were found significant at the .05 level; 2) the experimental group I shows a greater increase of developing Honesty Value than the experimental group II significant at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48558
ISBN: 9745782343
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirivan_ja_front.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Sirivan_ja_ch1.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open
Sirivan_ja_ch2.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Sirivan_ja_ch3.pdf823.23 kBAdobe PDFView/Open
Sirivan_ja_ch4.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Sirivan_ja_ch5.pdf767.51 kBAdobe PDFView/Open
Sirivan_ja_back.pdf8.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.