Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48566
Title: อิทธิพลของสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวชนชั้นล่าง ที่มีต่อลักษณะอำนาจนิยมในสังคมไทย
Other Titles: The effects of socio-economic status of lower class family on authoritarianism in Thai society
Authors: ศิริวรรณ ทิมวงศ์
Advisors: สัญญา สัญญาวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sunya.S@chula.ac.th
Subjects: ครอบครัว -- ไทย
เด็ก -- การดูแล -- ไทย
ชนชั้นในสังคม -- ไทย
ชนชั้นล่าง
สังคมประกิต
อำนาจนิยม
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาของการวิจัยในครั้งนี้ คือ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวชนชั้นล่างในสังคมไทย มีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมลักษณะอำนาจนิยมหรือไม่ อย่างไร โดยมีสมมุติฐาน ดังนี้ 1. ในสังคมไทยครอบครัวที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับล่างจะอบรมบุตรให้มีบุคลิกภาพแบบอำนาจนิยม 1.1 ยิ่งบิดามารดา/ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาต่ำเพียงใด ลักษณะความเป็นอำนาจนิยมจะสูงมากขึ้นเท่านั้น 1.2 ยิ่งบิดามารดา/ผู้ปกครองมีระดับอาชีพอยู่ในระดับต่ำเพียงใด ลักษณะความเป็นอำนาจนิยมจะสูงขึ้นเท่านั้น 1.3 ยิ่งบิดามารดา/ผู้ปกครองมีระดับรายได้ต่ำเพียงใด ลักษณะความเป็นอำนาจนิยมจะสูงมากขึ้นเท่านั้น 1.4 ยิ่งบิดามารดา/ผู้ปกครองมีทรัพย์สมบัติน้อยเพียงใด ลักษณะความเป็นอำนาจนิยมจะสูงมากขึ้นเท่านั้น 2. ในสังคมไทยครอบครัวที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับกลางขึ้นไปจะอบรมบุตรให้มีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย 3. กระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคมของครอบครัวชนชั้นล่างจะแตกต่างกับกระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคมของคนชั้นกลาง ข้อมูลสำหรับการทดสอบสมมุติฐานที่ได้จากแบบสอบถามนักเรียนและบิดามารดา/ผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียนราชวินิต มัธยม โรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน และโรงเรียนแจงร้อนวิทยา จำนวน 160 คน ผลปรากฏว่า 1. เป็นไปตามสมมุติฐาน กล่าวคือ บิดามารดา/ผู้ปกครองของครอบครัวชนชั้นล่างมีบุคลิกภาพแบบอำนาจนิยม และจะอบรมขัดเกลาพฤติกรรม และทัศนคติแบบอำนาจนิยมให้กับบุตรของตน 2. ข้อมูลจากการวิจัยนี้ ยืนยันสมมุติฐานข้อนี้บางส่วน กล่าวคือ บิดามารดา/ผู้ปกครองของครอบครัวชนชั้นกลางขึ้นไปมีบุคลิกภาพแบบอำนาจนิยมที่ค่อนข้างสูง ในขณะที่บุตรกลับเป็นผู้มีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตยมากขึ้น 3. เป็นไปตามสมมุติฐาน กล่าวคือ ครอบครัวที่ต่างระดับชั้นกัน มีรูปแบบของการอบรมขัดเกลาที่แตกต่างกัน โดยที่ครอบครัวชนชั้นล่างใช้รูปแบบที่เข้มงวด การลงโทษที่รุนแรงและการปล่อยปละละเลยในการควบคุมพฤติกรรมบุตรมากกว่าครอบครัวชนชั้นกลางขึ้นไป ซึ่งครอบครัวในชนชั้นนี้จะใช้รูปแบบประชาธิปไตยในการอบรมพฤติกรรมบุตร
Other Abstract: The research problem for this thesis is whether the socio-economic status of lower class family affects the authoritarian personality of its younger generation. The hypotheses for this research are : 1. In This society, the lower socio-economic status family tends to socialize its offsprings to be authoritarian. 2. In Thai society, the middle socio-economic status family and higher tend to socialize their offsprings into a democratic personality. 3. The socialization process of the lower socio-economic status family is different from that of the middle class and higher. The data for testing the hypotheses are from administering questionnaires to 160 students and parents of four government secondary schools in Bangkok, two schools for lower class families and another two schools for higher class families, the results of which are as follows : 1. The first hypothesis is confirmed ; 2. The data indicate that although the parents of middle class families are rather authoritarian themselves, their children are democratic personality ; 3. The data confirm the third hypothesis, i.e. while the socialization process of lower class is characterized by force and strictness, that of middle class is a democratic and instructive one.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48566
ISBN: 9745778699
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwan_ti_front.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Siriwan_ti_ch1.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open
Siriwan_ti_ch2.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Siriwan_ti_ch3.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Siriwan_ti_ch4.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
Siriwan_ti_ch5.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Siriwan_ti_ch6.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Siriwan_ti_back.pdf13.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.