Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48597
Title: | ภูมิศาสตร์ภาษาจังหวัดสุโขทัย : การศึกษาโดยใช้ศัพท์ |
Other Titles: | Linguistic Geography of Sukhothai : the Lexical Approach |
Authors: | วารี วีสกุล |
Advisors: | กัลยา ติงศภัทิย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | kalaya@chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาไทย -- ภาษาถิ่น (สุโขทัย) ภูมิศาสตร์ภาษา politics demograph |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ในจังหวัดสุโขทัยมีการใช้ภาษาไทยถิ่นอะไรบ้างและแต่ละภาษาถิ่นพูดอยู่ในบริเวณใดของจังหวัด นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการศึกษามาทำแผนที่ภาษาของจังหวัดสุโขทัยด้วย การศึกษาครั้งนี้ศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยหน่วยอรรถจำนวน 30 หน่วยอรรถ หน่วยอรรถเหล่านี้ได้รับการคัดเลือกเนื่องจากเป็นหน่วยอรรถที่แทนด้วยศัพท์ที่แตกต่างกันในภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทยถิ่นกลาง ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านของจังหวัดสุโขทัย และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาร้อยละ 78.4 ของจำนวนแบบสอบถามที่ส่งออกไปทั้งหมด จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ในจังหวัดสุโขทัยมีภาษาไทยถิ่นที่ใช้อยู่ 3 ภาษา คือ ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดในจังหวัดสุโขทัยคือ ภาษาไทยถิ่นกลาง ซึ่งพูดกันอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นที่ราบทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของจังหวัด ภาษาไทยถิ่นอีสานมีพูดกันอยู่ในบางหมู่บ้านของตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย และตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร ภาษาไทยถิ่นเหนือส่วนใหญ่พูดกันในบริเวณที่ที่เป็นภูเขาทางทิศตะวันตกของจังหวัด ส่วนบริเวณพื้นที่ที่เป็นภูเขาทางทิศเหนือ เป็นบริเวณที่มีการใช้ภาษาปะปนกันอยู่ระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นเหนือ นอกจากนี้ผู้วิจัยพบว่าในจังหวัดสุโขทัยมีบางส่วนของแนวแบ่งเขตภาษาระหว่างภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยถิ่นกลางอยู่ระหว่างอำเภอทุ่งเสลี่ยมกับอำเภอศรีสำโรง และอยู่ในบริเวณตอนเหนือของอำเภอศรีสัชนาลัย |
Other Abstract: | This thesis aims at finding out what Thai dialects are used in Sukhothai province and in which area, and also at producing a linguistic map of the province based on the results of the study. The questionnaire used in the study consists of thirty semantic units which were selected on the basis of their being represented by different lexical items in Northern Thai, Northeastern Thai, and central Thai. The questionnaire was sent to the headmen of all the villages in the province. Seventy eight point four per cent of the questionnaires were returned to the researcher. The study show that three Thai dialects : Northern Thai, Northeastern Thai and Central Thai are spoken in Sukhothai. Among the three dialects Central Thai is the most widely used in the plain in the east and the south of the province. Northeastern Thai is used in a few villages in Hardsiew Srisachanalai district and in Klongmaplub, Srinakorn district. Northern Thai is used in the mountainous area in the western part of the province. Furthermore Central Thai and Northern Thai are used together in the north of the province. In this study a part of the linguistic boundary between Northern Thai and Central Thai is discovered : between Tungsalium district and Srisamrong district, and in the north of Srisachanalai district. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48597 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Varee_we_front.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Varee_we_ch1.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Varee_we_ch2.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Varee_we_ch3.pdf | 4.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Varee_we_ch4.pdf | 6.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Varee_we_ch5.pdf | 4.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Varee_we_ch6.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Varee_we_back.pdf | 3.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.