Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48646
Title: การปรับนโยบายต่างประเทศของไทยต่อเวียดนาม
Other Titles: Policy adaptation of Thai foreign policy towards Vietnam
Authors: สมพร บัวศักดิ์
Advisors: อภิญญา รัตนมงคลมาศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Abhinya.R@Chula.ac.th
Subjects: ความมั่นคงแห่งชาติ
ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- เวียดนาม
เวียดนาม -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของไทยต่อเวียดนาม จากความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างรุนแรงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 แล้วมาคลี่คลายลงตามลำดับหลังปี ค.ศ. 1969 จนถึงขั้นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันในปี ค.ศ. 1976 ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศ และเงื่อนไขทางการเมืองภายในประเทศอันอาจจำแนกได้เป็น 1. การเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐอเมริกาต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และต่อเวียดนาม จากแต่เดิมเป็นการสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์มาเป็นนโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ และถอนกำลังทหารออกจากเวียดนาม การดำเนินการตามนโยบายเช่นนี้ทำให้มีการถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยด้วย ซึ่งเป็นผลให้ผู้นำไทยรู้สึกว่าขาด ผู้ค้ำประกันความมั่นคง จึงต้องหาทางดำเนินนโยบายใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของตนที่เปลี่ยนไป 2. การได้อำนาจปกครองประเทศของกลุ่มคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนทั้งๆ ที่ฝ่ายสหรัฐอเมริกา และประเทศไทยพยายามดำเนินนโยบายการป้องกันประเทศ (forward defense strategy) ระงับการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในบริเวณนี้ ทำให้ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนท่าทีใหม่เพื่อความมั่นคงของประเทศ 3. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศไทยเองหลัง ค.ศ. 1973 ทำให้การเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา และดำเนินท่าทีเป็นมิตรกับทุกประเทศได้รับการพิจารณาว่าสอดคล้องกับสภาพการณ์ระหว่างประเทศแม้ว่าจะขัดกับอุดมการณ์ของผู้นำไทยก็ตาม
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the adaptation of Thai foreign policy towards Vietnam from the intense hostility since 1954. From 1969 the situation improved and relations between the two countries were normalized in 1976. Among various factors, it is found that two major facters influencing the adaptation were the international political environment and internal political conditions which can be devided into the followings : 1. The chang in U.S. policy in Southeast Asia and more particularly Vietnam from containment to détente and military withdrawal from Vietnam led to U.S. military withdrawal from Thailand as well. This policy implementation caused the Thai leadership to feel insecure and led to search for a new policy suitable to the changed environment. 2. Despite the fact that Thailand, with the U.S. backing, used forward defense strategy, the Indochinese Communists nevertheless managed to capture power. Thailand had, therefore, to adapt its posture to ensure its national security. 3. Domestic political change within Thailand itself in 1973 led to the consideration of previous demands for adaptation of Thailand's relations with the U.S. toward an omnidirectional policy. These demands were therefore the condition for policy adaptation despite the fact that they conflict with the Thai leaders' ideology.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48646
ISBN: 9745675709
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somporn_bua_front.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_bua_ch1.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_bua_ch2.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_bua_ch3.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_bua_ch4.pdf408.37 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_bua_back.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.