Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48708
Title: บทบาทสหประชาชาติในการแก้ไขวิกฤติการณ์อิรัก-คูเวตตามกฎบัตรสหประชาชาติ
Other Titles: The role of the United Nations in settling the Irag-Kuwait crisis in accordance with the UN charter
Authors: สมชาติ ธรรมศิริ
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chumphorn.P@Chula.ac.th
Subjects: กฎหมายระหว่างประเทศ -- คดีเมือง
สหประชาชาติ
องค์การระหว่างประเทศ
อิรัก-คูเวต -- สงคราม
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทสหประชาชาติในการแก้ไขวิกฤติการณ์ อิรัก-คูเวต ตามกฎบัตรสหประชาชาติ โดยมีขอบเขตการศึกษาตั้งแต่เมื่ออิรักบุกยึดครองคูเวต ในวันที่ 2 สิงหาคม 1990 จนกระทั่งอิรักถอนทหารออกจากคูเวตในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1991 ผลการศึกษาพบว่า สหประชาชาติได้ใช้อำนาจตามความในหมวด 7 กฎบัตรสหประชาชาติเป็นพื้นฐานทางกฎหมายในการดำเนินการ แต่มิได้ดำเนินการตามเนื้อความในกฎบัตรโดยตรง และยังมีปัจจัยทางการเมืองเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินการของสหประชาชาติ เช่น การสิ้นสุดสงครามเย็น ความร่วมมือระหว่างมหาอำนาจ วิกฤติการณ์พลังงาน นอกจากนั้น สหประชาชาติยังเคารพต่อกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และกฎเกณฑ์ในการทำสงคราม เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขการทำลายสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงควรที่จะได้มีการส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศภูมิภาคต่างๆ ได้มีบทบาทร่วมกันในการรักษาสันติภาพอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และสหประชาชาติควรที่จะได้พิจารณาจัดตั้งกองกำลังสหประชาชาติ ตามมาตรา 43 กฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งการเข้าแทรกแซงในการตกลงลดอาวุธ และผลักดันให้บรรดารัฐต่างๆ หันมาใช้แนวทางกฎหมายระหว่าประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติในการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างรัฐควบคู่ไปกับการดำเนินการทางการเมือง
Other Abstract: The thesis is aimed to study upon the roles of the United Nations concerning the method under the UN Charter in settling the crisis between Iraq and Kuwait. The time scope of the study is limited to the period between the 2nd day of August 1990 on which Iraq invaded Kuwait and the 28th day of February 1991 on which Iraq finally withdrew its troops. It is found that although the UN based its policy upon its right in pursuant of rules under chapter VII of the UN Charter, it still had to take into account other relevant political factors such as the end of the cold war, the cooperation among superpowers and the crisis of oil and gas. It is also the found that in settling the dispute the UN had to observe the international customary law, the international law on human right and rules of war and so on. This thesis has proposed following suggestions in order to prevent the breach of peace among nations which somehow may occur in the future. Firstly, the international organizations ought to be given far more actual roles in keeping peace. Secondly, the UN should exercise its power under article 43 of the UN Charter in forming the UN own forces. Next, there must be the UN participation in arms reduction among state members. Lastly, the UN must persuade every state to adopt the UN Charter and international law as another measure to dispute settlement whilst the political means are being used.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48708
ISBN: 9745815381
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchart_ta_front.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open
Somchart_ta_ch1.pdf6.28 MBAdobe PDFView/Open
Somchart_ta_ch2.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open
Somchart_ta_ch3.pdf6.37 MBAdobe PDFView/Open
Somchart_ta_ch4.pdf6.37 MBAdobe PDFView/Open
Somchart_ta_ch5.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Somchart_ta_ch6.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Somchart_ta_back.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.