Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48711
Title: ความเมินห่างทางการเมืองของตำรวจจราจร
Other Titles: Political Alienation of Traffic Police
Authors: ศักดา ช่างเรือ
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ตำรวจจราจร
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้ทราบถึงระดับความเมินห่างทางการเมืองของตำรวจจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปัจจัยที่มีผลต่อความเมินห่างทางการเมืองของตำรวจจราจรรวมทั้งผลกระทบของความเมินห่างทางการเมืองของตำรวจจราจรที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยมีสมมุติฐานในการศึกษาว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่ที่การจราจรหนาแน่นแตกต่างกันจะมีระดับความเมินห่างทางการเมืองแตกต่างกัน แนวความคิดเกี่ยวกับความเมินห่างทางการเมืองที่ใช้ในการศึกษาเรื่องนี้ ประกอบด้วยปัจจัย 5 องค์ประกอบ คือ ความรู้สึกไร้อำนาจ ความรู้สึกไร้ความหมาย ความรู้สึกไร้ปทัสถาน ความรู้สึกโดดเดี่ยว และความรู้สึกเหินห่างทางการเมือง การศึกษาเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจสุ่มตัวอย่างตำรวจจราจรทั้งหมด 388 นายคิดเป็นร้อยละ 21.7 ของตำรวจจราจรทั้งหมด โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากตำรวจจราจรในพื้นที่จราจรหนาแน่น 196 นาย ในพื้นที่จราจรเบาบาง 196 นาย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2535 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุ เพื่อทดสอบสมมุติฐาน การวิจัยพบว่าตำรวจจราจรที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่จราจรหนาแน่นแตกต่างกันไม่มีความเมินห่างทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระดับความเมินห่างทางการเมืองที่แตกต่างกันของตำรวจจราจรขึ้นอยู่กับตัวแปร เรียงตามลำดับความสำคัญ ดังต่อไปนี้คือความเข้มงวดของผู้บังคับบัญชาการเคารพกฎจราจรของประชาชน ภาวะทางเศรษฐกิจของตำรวจจราจรผู้ตอบแบบสอบถาม สภาพแวดล้อมและมลพิษ และความหนาแน่นของการจราจรในเขตพื้นที่ปฏิบัติงาน นอกจากนี้แล้วยับพบว่าตำรวจจราจรชั้นสัญญาบัตรกับตำรวจจราจรชั้นประทวนมีระดับความเมินห่างทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรมีระดับความเมินห่างทางการเมืองสูงกว่าตำรวจจราจรชั้นประทวน
Other Abstract: The study of political alienation of traffic police is a survey research which aims finding out about the political alienation of traffic police in Bangkok, the operational factors that cause the political alienation, and the effect of political alienation on traffic police’s performance. The hypotheses are that traffic police in different areas show the different political alienation defined in 5 types: powerlessness, meaninglessness, normlessness, isolation, and self-estrangement. The finding is that there is no difference in political alienation among traffic police in areas of different intensity of traffic. What cause different political alienation among traffic police are, ranging from high to low level of significance, level of severity of exercising authority of police chief, traffic law-abiding by road-users, economic condition of the traffic police, environment and pollution. There exists also significant level of difference of political alienation between commissioned police officers and non-commissioned police officers by the fact that higher level of alienation is found among the commissioned police officer group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48711
ISBN: 9745824976
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakda_cha_front.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_cha_ch1.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_cha_ch2.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_cha_ch3.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_cha_ch4.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_cha_ch5.pdf5.81 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_cha_ch6.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_cha_back.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.