Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48819
Title: การประเมินคุณค่าและการปรับปรุงคุณภาพโปรตีน ของอาหารทางการแพทย์ชนิดผง สูตรโปรตีนสกัดจาดถั่วเขียว
Other Titles: Evaluation and improvement of protein quality of mung bean protein-based medical food powder
Authors: วรรณี วรวัฒนชัย
Advisors: อรอนงค์ กังสดาลอำไพ
ธิติรัตน์ ปานม่วง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Oranong.K@Chula.ac.th
Thitirat.P@Chula.ac.th
Subjects: โปรตีนจากพืช
ถั่วเขียว
โภชนบำบัด
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้ประเมินคุณค่าและปรับปรุงคุณภาพโปรตีนของอาหารทางการแพทย์ชนิดผงสูตรโปรตีนสกัดจากถั่วเขียว ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ชนิดผงสูตรโปรตีนสกัดจากถั่วเขียวประกอบด้วยโปรตีนสกัดจากถั่วเขียวร้อยละ 20 น้ำมันข้าวโพดร้อยละ 16 ไตรกลีเซอไรด์สายโมเลกุลยาวปานกลางร้อยละ 4 มอลโตเด็กซ์ตรินร้อยละ 60 และเลซิทิน (ปริมาณ 0.5 กรัมต่อปริมาตร 100 มิลลิลิตร) ปั่นผสมให้เข้ากันแล้วนำไปอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบพ่นกระจาย โดยให้อุณหภูมิลมร้อนเข้าและอุณหภูมิลมร้อนออก 150 และ 70 องศาเซลเซียสตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า คาร์โบไฮเดรตและใยอาหารเป็นส่วนประกอบร้อยละ 2.54, 17.42, 16.47, 1.81 และ 62.42 ตามลำดับ อัตราส่วนของพลังงานที่ได้จากโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 14.90, 31.70, และ 53.40 ตามลำดับอัตราส่วนพลังงานที่ไม่ได้มาจากโปรตีนต่อไนโตรเจนเท่ากับ 142.75 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 กรัมไนโตรเจนผลิตภัณฑ์นี้มีเมไทโอนีน และทรีโอนีนเป็นกรดอะมิโนที่มีปริมาณจำกัด ปรับปรุงคุณภาพโปรตีนในอาหารทางการแพทย์สูตรโปรตีนสกัดจากถั่วเขียว โดยการเสริมกรดอะมิโนเมไทโอนีนและทรีโอนีน 19.02 และ 11.16 มิลลิลิตรต่อกรัมโปรตีน ตามลำดับ หรือการเสริมกรดอะมิโนเมไทโอนีน, ทรีโอนีนและไลซีน ไฮโดรคลอไรด์ 19.28, 11.45 และ 8.43 มิลลิกรัมต่อกรัมโปรตีน ตามลำดับ หรือการเสริมเคซีน, เมไทโอนีนและทรีโอนีน 1.1745 กรัม, 14.48 และ 8.63 มิลลิกรัมต่อโปรตีน ตามลำดับ การตรวจสอบคุณภาพโปรตีน โดยวิธีชีววิเคราะห์ในหนูขาวเปรียบเทียบกับเคซีน พบว่าสูตรอาหารที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพโปรตีน ให้ค่า PER และ NPR เทียบเท่าเคซีน โดยไม่มีความแตกต่างกับเคซีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 สูตรอาหารที่ได้รับการเสริมเคซีน, เมไทโอนีนและทรีโอนีน มีโปรตีนคุณภาพดีและราคาถูกว่าโปรตีนเคซีน ให้ค่า protein efficiency ratio (PER), net protein ratio (NPR), true digestibility (TD), biological value (BV) และnet protein utilization (NPU) เท่ากับ 2.84, 3.77, 92.20, 88.88 และ 81.94 ตามลำดับโดยไม่มีความแตกต่างกับเคซีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 สูตรอาหารที่ได้รับการเสริมเมไทโอนีน ทรีโอนีน หรือเสริมเมไทโอนีน ทรีโอนีน และไลซีน ไฮโดรคลอไรด์ ไม่ทำให้การดูดซึมและการนำไนโตรเจนไปใช้ประโยชน์ในร่างการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าการนำโปรตีนไปใช้ประโยชน์ในทางสรีรวิทยาและชีวเคมีไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: Evaluation and improvement of protein quality of mung bean protein based medical food formula was performed. The formula was composed of 20% mung bean protein isolate, 16% corn oil, 4% MCT oil, 60% maltodextrin. Lecithin (0.5 g per 100 ml.) was used as an emulsifier. The mixture was homogenized. Then the emulsion was spray dried (150℃ for the inlet and 70℃ for the outlet temperatures). Proximate analysis showed that the product consisted of 2.54% moisture, 17.42% protein, 16.47% fat, 1.81% ash, 62.42% carbohydrate and fiber. Caloric distribution of protein, fat and carbohydrate were 14.90, 31.70 and 53.40, respectively. Non protein caloric: nitrogen ratio was 142.75 cal. per 1 g nitrogen. Methionine and threonine were limiting amino acid of the formula. Improvement on protein quality have been done in three different ways. Firstly, the fortification of methionine (19.02 mg per g protein) and threonine (11.16 mg per g protein). Secondly, the fortification of methionine (19.28 mg per g protein), threonine (11.45 mg per g protein) and lysine hydrochloride (8.43 mg per g protein). Thirdly, the fortification of casein (1.1745 g per g protein), methionine (14.48 mg per g protein) and threonine (8.63 mg per g protein). Protein quality of four formulas were examined using rat bioassay with casein was served as standard protein. Protein quality improved formulas had no statistically different (p<0.95) PER and NPR from those of the casein formula. The formula fortified with casein, methionine and threonine was high in quality but rather cheap in price. The protein efficiency ratio (PER), net protein ratio (NPR), true digestibility (TD), biological value (BV) and net protein utilization (NPU) of this formula were 2.84, 3.77, 92.20, 88.88 and 81.94 respectively; with no difference (p<0.95) from those of the casein formula. Absorbed and retained nitrogen of the formulas fortified with methionine and threonine or methionine, threonine and lysine hydrochloride was not different from unimproved formula and indicated no difference of protein utilization in terms of physiology and biochemistry.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48819
ISBN: 9745844438
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannee_wo_front.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_wo_ch1.pdf379.19 kBAdobe PDFView/Open
Wannee_wo_ch2.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_wo_ch3.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_wo_ch4.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_wo_ch5.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_wo_back.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.