Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49019
Title: วิธีพิจารณาความของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครองในประเทศไทย
Other Titles: The adjudication procedure of Administrative Committee in Thailand
Authors: สมศักดิ์ อินทร์พันธุ์
Advisors: วิชัย วิวิตเสวี
นันทวัฒน์ บรมานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Nantawat.B@Chula.ac.th
Subjects: คณะกรรมการ,วินิจฉัย -- วิธีพิจารณาความ
การชี้ขาดข้อพิพาททางการปกครอง
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงวิธีพิจารณาความของคณะกรรมการที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครอง อันเป็นการกระทำที่มีลักษณะกึ่งตุลาการในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า คณะกรรมการที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครองในประเทศไทยนั้น มีหลายคณะกรรมการที่ยังขาดหลักเกณฑ์วิธีพิจารณาอันชัดแจ้งและเป็นระเบียบแบบแผนในการอำนวยความเป็นธรรมกับประชาชนผู้ที่มีสิทธิของตนอาจถูกกระทบจากคำวินิจฉัยชี้ขาดและมิได้มีการนำเอาวิธีพิจารณาความมาใช้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาอย่างเหมาะสมดังที่คณะกรรมการที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครองในต่างประเทศถือปฏิบัติ ทั้งไม่มีกระบวนการในการควบคุมระบบวิธีพิจารณาให้มีการถ่วงดุลย์ซึ่งกันและกันภายในองค์กรคณะกรรมการ และนอกจากนี้ยังขาดองค์กรที่มีอำนาจควบคุมในด้านการวางหลักเกณฑ์และแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับวิธีพิจารณาเพื่อให้วิธีพิจารณาของแต่ล่ะคณะกรรมการมีความเหมาะสมกับเรื่องที่ทำการวินิจฉัยชี้ขาด ดังนั้นจึงสมควรมีการตราพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาทางปกครองกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกรองขึ้น และให้มีคณะกรรมการวิธีพิจารณาทางปกครองควบคุมแลการพิจารณาของคณะกรรมการ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิส่วนได้เสียของประชาชนอย่างเป็นธรรม และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติ
Other Abstract: The main purpose of the research concern the appropriate adjudication procedure for various Administrative Committees which have acted as the quasi-judicial function in Thailand. As a result, it indicates that many of administrative committees mostly lack of standard critiria or general rules governing adjudication procedure. Moreover, there seems to be, in quasi-judicial process, no guarantee of natural justice against bias and mis or maladjudication of the committees. The control, over these committees, including its organizing, managing, authority and responsibly vary considerably. The Conclusion of this study, based on the foundings, prupose that Thailand should enact Administrative Procedure Act fo Quasi-Judicial Committees in order to ensure justice, appropriate quasi-judicial process and responsible organizing in handing administrative procedure in each committee.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2535
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49019
ISBN: 9745817651
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_ind_front.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ind_ch1.pdf8.89 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ind_ch2.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ind_ch3.pdf5.66 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ind_ch4.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ind_ch5.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ind_ch6.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ind_ch7.pdf12.43 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ind_ch8.pdf14.65 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_ind_back.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.