Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49044
Title: การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป พุทธศักราช 2527 ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
Other Titles: The evaluation of the general home economics curriculum B.E.2527 at the higher vocational diploma level of Rajamangala institute of Technology
Authors: สมสมร เทพนำโสมนัสส์
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Boonmee.N@Chula.ac.th
Subjects: การประเมินหลักสูตร
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป พุทธศักราช 2527 ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ผลการวิจัยเกี่ยวกับประเมินบริบทพบว่า การกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับปัจจัยภายนอก และมีความชัดเจนของภาษาและสามารถนำไปปฏิบัติได้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและระบุถึงความเป็นนักคหกรรมศาสตร์ที่ดีค่อนข้างมาก โครงสร้างของหลักสูตรเกี่ยวกับจำนวนหน่วยกิตรวม หน่วยกิตหมวดวิชา และหน่วยกิตรายวิชา ส่วนใหญ่มีความเหมาะสมดี เนื้อหาของหลักสูตรมีความน่าสนใจ ความทันสมัย แต่ยังคงมีความซ้ำซ้อนค่อนข้างมาก ปริมาณเนื้อหามีความเหมาะสมกับจำนวนหน่วยกิต และเนื้อหารายวิชาส่วนใหญ่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพค่อนข้างมาก ปัจจัยเบื้องต้นด้านอาจารย์และนักศึกษาในวิทยาเขต ส่วนใหญ่มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ค่อนข้างมาก ยกเว้นส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีความเพียงพอค่อนข้างน้อย คุณภาพค่อนข้างต่ำ และมีความสะดวกในการใช้บริการค่อนข้างน้อย กระบวนการผลิต การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนโดยทั่วไปมีความเหมาะสมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ยกเว้นบรรยากาศการเรียนภาคทฤษฎี การให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการวางหลังเกณฑ์การวัดและประเมินผล และการปรับปรุงการสอนของอาจารย์มีความ เหมาะสมค่อนข้างน้อย ผลผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป มีคุณลักษณะทั่วไปและคุณลักษณะด้านวิชาชีพตรงตามที่กำหนดไว้ในความมุ่งหมายของหลังสูตรค่อนข้างมาก
Other Abstract: The purpose of this study was to evaluate the higher vocational diploma level of the general home economics curriculum B.E. 2527 of Rajamagala Institute of Technology the findings revealed that with regards to the context evaluation it was found that the curriculum objectives were correlated to the external factors also they were clearly stated and pacticable. They were correspond with the social needs and indicated a good home-economist ability. Regarding to the curriculum structure it was found to be appropriated. The curriculum content found to be interested and up-to-date, but there still be some contents overlapping among subjects, anyhow, most of curriculum content were found to be useful and necessary to career implication. With regards to input evaluation, teachers were found to be appropriated the same as the students’ readiness, except the instructional supporting units which were found to be inappropriated and inefficient. Regarding to process evaluation it was found that the instructional process was rated appropriated at the high level except the instructional climate as regards to theory subjects, students’ participation in evaluation; and instructional improvement among teachers were rated appropriated at the low level. With regards to product evaluation it was found that the graduates competencies were rated appropriated at the high level both their general and career competencies.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49044
ISBN: 9745763314
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsamorn_th_front.pdf11.41 MBAdobe PDFView/Open
Somsamorn_th_ch1.pdf14.9 MBAdobe PDFView/Open
Somsamorn_th_ch2.pdf8.38 MBAdobe PDFView/Open
Somsamorn_th_ch3.pdf8.31 MBAdobe PDFView/Open
Somsamorn_th_ch4.pdf26.75 MBAdobe PDFView/Open
Somsamorn_th_ch5.pdf15 MBAdobe PDFView/Open
Somsamorn_th_back.pdf14.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.