Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49051
Title: | ความเชื่อเกี่ยวกับความยุติธรรมที่เกิดจากผลกรรมตามสนองตามทฤษฎีของพีอาเจต์ของเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี |
Other Titles: | Belief in piaget's theory on immanent justice in six- through twelve-year-old children |
Authors: | สมสมร สิงหเสนี |
Advisors: | ธีระพร อุวรรณโณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Theeraporn.U@chula.ac.th |
Subjects: | กรรม Karma |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของความเชื่อเกี่ยวกับความยุติธรรมที่เกิดจากผลกรรมตามสนอง (Immanent Justice) ของเด็กอายุ 6 8 10 และ 12 ปี กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ นักเรียนชายหญิง อายุ 6 8 10 และ 12 ปี จำนวน 240 คน ที่นับถือศาสนาพุทธ จากโรงเรียนที่มีระดับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ 120 คน และจากโรงเรียนที่มีระดับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสูง 120 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเล่าเรื่องของพีอาเจต์ และใช้คำถามสัมภาษณ์ประกอบแต่ละเรื่องเพื่อวัดความเชื่อเกี่ยวกับความยุติธรรมที่เกิดจากผลกรรมตามสนอง ทั้งหมด 3 เรื่อง 9 คำถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้ในแต่ละระดับอายุ ทำการทดสอบภายหลังด้วยสถิติทดสอบของตูกี และทำการวิเคราะห์แนวโน้มของความเชื่อเกี่ยวกับความยุติธรรมที่เกิดจากผลกรรมตามสนองของทั้ง 4 ระดับอายุ นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง คือ อายุและสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ของคะแนนความเชื่อเกี่ยวกับความยุติธรรมที่เกิดจากผลกรรมตามสนอง เพื่อทดสอบว่าสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมมีปฏิสัมพันธ์กันหรือไม่ 1. นักเรียนอายุ 6 ปี 8 ปี 10 ปี และ 12 ปี มีความเชื่อเกี่ยวกับความยุติธรรมที่เกิดจากผลกรรมตามสนองแตกต่างกันตามลำดับจากมากไปหาน้อย 2. นักเรียนที่มีอายุแตกต่างกันและสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกัน มีความเชื่อเกี่ยวกับความยุติธรรมที่เกิดจากผลกรรมตามสนองแตกต่างกัน แต่อายุและสถานภาพไม่มีปฎิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน 3. นักเรียนที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสูง มีความเชื่อต่ำกว่านักเรียนที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study and compare the differences of the belief in Immanent Justice in six-, eight-, ten-, and twelve-year-old children. The sample consisted of 240 buddhist students aged six, eight, ten and twelve years old. Half of the students are low in socio-economic status, while the other half are high in socio-economic status. Information get through interview by the researcher, who at first, had told the students about Piaget’s stories and later on asked questions. There are 3 stories and 9 questions. Data were analyzed by one way ANOVA, Tukey Test, trend analysis, and two way ANOVA. Findings are as follows: 1. Six, eight, ten, and twelve years old students have significantly different mean scores, from high through low, respectively, on the belief in Immanent Justice. 2. Age and socio-economic status have significant main effects on the belief in Immanent Justice, but their interaction is not significant. 3. Students with high socio-economic status have significantly lower scores on the belief in Immanent Justice than students with low socio-economic status. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49051 |
ISBN: | 9745791067 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somsamorn_si_front.pdf | 6.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsamorn_si_ch1.pdf | 15.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsamorn_si_ch2.pdf | 5.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsamorn_si_ch3.pdf | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsamorn_si_ch4.pdf | 4.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsamorn_si_ch5.pdf | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsamorn_si_back.pdf | 8.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.