Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49227
Title: วิเคราะห์และจำลองผลรูปแบบโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด
Other Titles: Analysis and simulation of clean coal power plant model
Authors: วุฒิชัย ชนปิยางกูร
Advisors: ดาวัลย์ วิวรรธนะเดช
ชวลิต งามจรัสศรีวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Dawan.W@Chula.ac.th
Chawalit.Ng@Chula.ac.th
Subjects: โรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน -- แบบจำลอง
โรงไฟฟ้า -- แง่สิ่งแวดล้อม
Coal-fired power plants -- models
Electric power-plants -- Environmental aspects
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิเคราะห์ และจำลองผลโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด เป็นการศึกษาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดที่จะนำมาใช้สำหรับโรงไฟฟ้า โดยกำหนดขอบเขตของการศึกษาสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดในประเทศไทย ใช้เชื้อเพลิงจากการนำเข้าถ่านหิน จากตลาดแปซิฟิก ซึ่งมีแหล่งถ่านหินที่มีปริมาณสำรองสูงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และมีความคุ้มค่าในการลงทุน การศึกษาได้กำหนดให้ประเทศอินโดนีเซีย เป็นแหล่งถ่านหิน ที่มีศักยภาพในด้านคุณภาพถ่านหิน ประเภท ซับบิทูมินัส และบิทูมินัส และการขนส่งนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย ตำแหน่งที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญของการใช้ถ่านหินนำเข้า เนื่องจากต้องขนถ่ายถ่านหินทางทะเล ผู้วิจัยจึงได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดตั้งอยู่ชายฝั่งด้านอ่าวไทย ในพื้นที่ ภาตใต้ตอนบน และภาคตะวันออกที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นท่าเรือน้ำลึกเพื่อการขนถ่ายถ่านหินได้ในอนาคต และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการศึกษาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดได้ทำการศึกษาอย่างรอบด้าน ตั้งแต่เทคโนโลยีก่อนการเผาไหม้ เทคโนโลยีการเผาไหม้ถ่านหิน และเทคโนโลยีหลังการเผาไหม้ เพื่อศึกษา ทางเลือกโมเดลที่มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมสำหรับประเทศไทย รวมทั้งสามารถนำมาพัฒนาได้มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ด้านการลงทุน และสอดรับกับนโยบายของภาครัฐในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน กระจายความเสี่ยง ลดการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติ และการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศ ผลการวิเคราะห์แบบจำลองโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด สำหรับขนาดกำลังการผลิตที่มีความคุ้มค่าทางเศรษศาสตร์ พบโรงไฟฟ้าจะมีกำลังการผลิตหน่วยละ 800-900 MW โดยตั้งอยู่ริมทะเลเพื่อรองรับการขนถ่านหินขึ้นจากเรือ และการใช้น้ำทะเลเพื่อการหล่อเย็น ในการศึกษาและกำหนดแบบจำลอง ในขั้นตอนก่อนการเผาไหม้ได้กำหนดให้ใช้ระบบการขนถ่าย การลำเลียงและการจัดเก็บถ่านหิน ด้วยระบบปิด เพื่อป้องกันการฝุ่นถ่านหินมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้ม ขั้นตอนหลังการเผาไหม้ได้เลือกใช้ระบบกำจัดซัลเฟอร์ด้วยระบบเปียกด้วยหินปูน หรือการกำจัดด้วยน้ำทะเล ส่วนเทคโนโลยีการเผาไหม้ได้จำลองผล เป็น 3 รูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย Ultra Super Critical PC, Super Critical PC และ Sub Critical PC ผลการจำลองผลด้านเทคนิค และด้านเศรษศาสตร์การเงินให้พบ ว่า เทคโนโลยี Ultra Super Critical PC ให้ผลของค่าไฟฟ้าเฉลี่ย ( Levelized Unit Price) 1.9458 บาท ถูกที่สุด รองลงมา 2.1166 บาท และ 2.2294 บาท ตามลำดับ ดังนั้นในการเลือกแบบจำลองที่เหมาะสม สำหรับประเทศไทย ควรเลือกเป็นแบบจำลอง Ultra Supper Critical PC ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำที่สุด เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า ลดการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว และยังช่วยลดารปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เท่ากัน
Other Abstract: Analysis and Simulation of Clean Coal Power Plant Model was defined the scope of study for Clean Coal Power Plant in Thailand by utilizing the imported thermal coal from Pacific Market. Indonesia country was focus to be the high potential source to supply for this region in perspective of quality of coal and total cost included transportation cost. The location of Clean Coal Power Plant in Thailand was studied base on imported coal via deep sea port, the site would be shoreline surround gulf of Thailand and also capable to connect with the nation grid. Upper part of southern area and eastern area was being concentrated upon the condition. Study of Clean Coal Technology was be comprehensive study the choice of technology, beginning from Pre combustion, Combustion and Post Combustion, the plant configuration was be design base on commercial availability of technology to minimize the environment impact and human health risk, also the efficiency of the operation unit through 25 years plant life. The result of financial analysis and modeling would be the parameter for justification. In order to promote and enhance the policy for fuel diversification and increase the stability of Thailand power generation. The model for simulation of Power Unit capacity 800-900 MW would be integrated from coal unloading, transportation, storage and handling by closed system. The combustion technology was be classified to 3 technology, Ultra Supper Critical PC, Supper Critical PC and Sub Critical PC. The post combustion was design as same technology, Selective Catalytic Reduction for NOx Removal, Electrostatic Precipitator for particle removal and the Wet Flue gas desulfurization (or Sea water scrubber) for sulfur removal. The result of plant heat balance simulation and financial modeling derived the Levelized Unit Price of power per kWh as following, Ultra Supper Critical PC 1.9458 baht, Supper Critical PC 2.1166 Baht and Sub Critical PC 2.2294 Baht respectively. The high efficiency and appropriated model for Thailand Clean Coal Power Plant would be Ultra Supper Critical Pulverized Coal Boiler base on the result of efficiency and economic justification and also saving coal consumption per kWh with low volume of exhausted flue gas.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49227
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1501
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1501
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wuttichai_ch.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.