Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49730
Title: | แบบจำลองการตัดสินใจการจัดรถขนส่ง |
Other Titles: | A decision model for truck dispatching |
Authors: | มานิตา มโนสิทธิกุล |
Advisors: | ปวีณา เชาวลิตวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | paveena.c@chula.ac.th |
Subjects: | การขนส่งสินค้า Commercial products -- Transportation; Shipment of goods |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การขนส่งสินค้าที่มีการบรรทุกสินค้าไม่เต็มคันรถเป็นปัญหาที่สำคัญในการขนส่งทางถนนในปัจจุบัน ทำให้เกิดการสูญเสียการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของรถ ดังนั้นเพื่อเป็นการบริหารจัดการพื้นที่ว่างของรถที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การจัดสรรความต้องการขนส่งสินค้า ภายใต้สถานการณ์ที่มีสินค้าหลายรายการและรถหลายคันที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น วันที่พร้อมใช้งาน,เส้นทางในการขนส่ง,ปริมาณของสินค้า,ความจุว่างของรถที่มีอยู่ เป็นต้น โดยการประยุกต์แบบจำลองปัญหาการขนส่งมาใช้ในการหาคำตอบ ในการจัดสรรความต้องการขนส่งสินค้าให้กับรถในงานวิจัยนี้จะทำการพิจารณาลักษณะข้อมูลของสินค้าและรถใน 3 มิติ คือ เส้นทาง,เวลา,และความจุทั้งในด้านน้ำหนักและปริมาตร เนื่องจากรถแต่ละคันมีความสามารถในการขนส่งสินค้าแต่ละรายการได้ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรูปแบบการขนส่งสินค้าที่แตกต่างกัน จากแบบจำลองปัญหาการขนส่งในงานวิจัยนี้ได้ทำการกำหนดค่าสัมประสิทธิ์ซึ่งเป็นค่าที่ใช้แทนรูปแบบการขนส่งสินค้าแต่ละรายการด้วยรถแต่ละคันที่เกิดขึ้นในการจัดสรรรถขนส่ง แทนการใช้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าแต่ละรายการด้วยรถแต่ละคัน เพื่อให้การจัดสรรความต้องการในการขนส่งสินค้าให้กับรถเกิดผลการจัดสรรที่มีรูปแบบการขนส่งที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด เช่นเกิดการโอนถ่ายสินค้าระหว่างคันรถน้อยที่สุด เป็นต้น ขั้นตอนในการจัดสรรรถขนส่งที่นำเสนอในงานวิจัยนี้แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน คือ 1)ขั้นตอนการเลือกข้อมูลของสินค้าและรถที่จะนำมาทำการจัดสรร 2)การจับคู่ความต้องการขนส่งกับรถคันที่สามารถทำการขนส่งให้กับสินค้าแต่ละรายการได้โดยการสร้างจุดของความต้องการในการขนส่งและรถ 3)การกำหนดค่าสัมประสิทธิ์ประจำเส้นของการขนส่งสินค้าแต่ละรายการด้วยรถแต่ละคัน 4)การจัดสรรความต้องการขนส่งให้กับรถคันที่มีความเหมาะสมด้วยแบบจำลองการขนส่ง ในงานวิจัยนี้ได้ทำการวิเคราะห์ผลการกำหนดค่าสัมประสิทธิ์การขนส่งเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดค่าสัมประสิทธิ์การขนส่ง พบว่าเมื่อไม่ต้องการให้เกิดรูปแบบการขนส่งใดขึ้นในผลการจัดสรร ให้ทำการกำหนดค่าสัมประสิทธิ์การขนส่งในกลุ่มรูปแบบการขนส่งนั้นให้มีค่ามากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งจะส่งผลให้ผลการจัดสรรรถขนส่งในกลุ่มอื่นๆมีค่าที่เปลี่ยนไปด้วย |
Other Abstract: | Less-than-truckload is a major problem of road transportation. It causes an opportunity loss to use the remaining of vehicle space. Thus, to manage the available truckload to be used more efficient, this research proposes the mathematical model for truck dispatching under several situations in different products and various truck characteristics such as available dates, routes, volumes of goods, and available truck spaces. The classic transportation model has been applied to find a solution. The truck dispatching decision in this study have been determined by 3 dimensions, namely, route, time, and capacity both weight and volume. Each dispatched truck has a different condition in transportation and thus results in different transportation pattern. According to the transportation model, this study has defined a penalty of transportation pattern on each arc instead of a transportation cost to make the most desired transportation pattern in the dispatching decision such as the least goods transshipment between trucks. The dispatching process proposed in this research encompasses of four steps: 1) Retrieving information of goods and trucks to be dispatched 2) Matching transportation demands with available trucks by constructing demand and supply nodes 3) Defining penalties on each arc 4) Determining dispatching decision by transportation model. This study has analyzed the result of defining penalty of transportation in order to be a method for defining penalty of transportation. It has been found that the undesired transportation form from the dispatching should to be defined more penalty than other patterns which would cause the change in the result of other groups. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49730 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1587 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1587 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
manita_ma.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.