Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/500
Title: | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) สาขาคณิตศาสตร์ |
Other Titles: | A study of factors effecting decision making to study at higher education level and mathematics learning achievement of first year students in the Project for Educating Mathematics Teachers for Basic Eucation (Five-Year Curriculum) |
Authors: | ฐิติพร ลินิฐฎา, 2524- |
Advisors: | อัมพร ม้าคนอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Aumporn.M@Chula.ac.th |
Subjects: | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การศึกษาขั้นอุดมศึกษา ความสามารถในตนเอง ลักษณะมุ่งอนาคต คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) สาขาคณิตศาสตร์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างประชากรคือ นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) สาขาคณิตศาสตร์ ในเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2547 จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามสถานภาพ และแบบวัดปัจจัยทางจิตวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในของเพียร์สัน และสร้างสมการทำนายด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นลำดับขั้น ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาคือ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ เจตคติต่อวิชาชีพครู เจตคติต่อมหาวิทยาลัยที่ศึกษา ลักษณะมุ่งอนาคต โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 ส่วนอิทธิพลจากผู้ปกครอง และอิทธิพลจากเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยปัจจัยที่เป็นตัวทำนาย คือเจตคติต่อวิชาชีพครู (X[subscript 11]) อิทธิพลจากผู้ปกครอง (X[subscript 14]) และลักษณะมุ่งอนาคต (X[subscript 13]) โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 23.6 และได้สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานคือ Y'[subscript atten] = 0.552X[subscript 11] - 0.225X[subscript 14] + 0.312X[subscript 13], Z'[subscript atten] = 0.359X[subscript 11] - 0.171X[subscript 14] + 0.164X[subscript 13] 2. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ คือ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 อาชีพของผู้ปกครองประเภทรับจ้าง แรงงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยที่เป็นตัวทำนายคือ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ (X[subscript 10]) ลักษณะมุ่งอนาคต (X[subscript 13]) อาชีพของผู้ปกครองประเภทรับจ้าง แรงงาน (X[subscript 7.1]) รายได้ของผู้ปกครองระดับ 20,001-30,000 บาท (X[subscript 8.4]) อาชีพของผู้ปกครองประเภทเกษตรกรรม (X[subscript 7.2]) และอิทธิพลจากเพื่อน (X[subscript 15]) โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 23.2 และได้สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานคือ Y'[subscript achieve] = 4.146 + .668X[subscript 10] - 0.709X[subscript 13] + 0.559X[subscript 7.1] + 0.546X[subscript 8.4] + 0.413X[subscript 7.2] + 0.359X[subscript 15], Z'[subscript achieve] = 0.325X[subscript 10] - 0.275X[subscript 13] + 0.262X[subscript 7.1] + 0.266X[subscript 8.4] + 0.253X[subscript 7.2] - 0.153X[subscript 15] |
Other Abstract: | The purpose of this study was to study factors affecting students' decision making to study at higher education level and learning achievement in mathematics of the first year students in the Project for Educating Mathematics Teachers for Basic Education (Five-Year Curriculum). The samples were 145 first year students in the project in the middle geographical region and in Bangkok. The research instruments were the questionnaires gathering condition and presonal information, and those which measure psychological factors. The obtained data were analyzed by means or Pearson-Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis. The result of the study indicated that: 1. Factors which affect students' decision making to study at higher education level on application to graduate schools were attitude towards mathematics, attitude towards teacher carrier, attitude towards their university, and future orientation. These factors were positively correlated with students' decision making to study at higher education level at .001 significant level. In contrast, influence from parents and influence from friends were negatively correlated at .05 significant level. The predictors were attitude towards teacher carrier and future-orientation, which altogether could predict at 23.6% while the regression equations of raw score and standard score wer eas follow: Y'[subscript atten] = 0.552X[subscript 11] - 0.225X[subscript 14] + 0.312X[subscript 13], Z'[subscript atten] = 0.359X[subscript 11] - 0.171X[subscript 14] + 0.164X[subscript 13] 2. Factors which affect learning achievement in mathematics was attitude towards mathematics. It was positively correlated with learning achievement in mathematics at .01 achievememtn in mathematics at .01 significant level. Parents' carrier as an employee or labor were positively correlated at 0.05 significant level. The predictors were attitude toward matematics, future-orientation, parents' carrier as an employe or labor, parents' income level of 20,001-30,000, parents' carrier as an agriculture, and influence from friends. They altogether coud Predict at 23.2% while the regression equations of raw score and standard score were as follow: Y'[subscript achieve] = 4.146 + .668X[subscript 10] - 0.709X[subscript 13] + 0.559X[subscript 7.1] + 0.546X[subscript 8.4] + 0.413X[subscript 7.2] + 0.359X[subscript 15], Z'[subscript achieve] = 0.325X[subscript 10] - 0.275X[subscript 13] + 0.262X[subscript 7.1] + 0.266X[subscript 8.4] + 0.253X[subscript 7.2] - 0.153X[subscript 15]. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาคณิตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/500 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.683 |
ISBN: | 9745322563 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.683 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thitiporn.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.