Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50087
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การนวัตกรรมกับสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรม: กรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
Other Titles: RELATIONSHIP BETWEEN INNOVATIVE ORGANIZATION AND INNOVATIVE CREATION COMPETENCY: A CASE STUDY OF OFFICE OF THE CIVIL SERVICE COMMISSION
Authors: ไอริน โรจน์รักษ์
Advisors: ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Sirapatsorn.W@Chula.ac.th,Sirapatsorn.W@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การนวัตกรรมกับสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรม: กรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นองค์การนวัตกรรมและสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการรับรู้ถึงปัจจัยองค์ประกอบความเป็นองค์การนวัตกรรมและสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การนวัตกรรมและสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความเป็นองค์การนวัตกรรมและสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบตามปัจจัยส่วนบุคคลของข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน พบว่า เพศที่มีความแตกต่างกัน ทำให้การรับรู้ถึงสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามตามสมมติฐานที่ 1 ส่วนอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งงานปัจจุบัน ประสบการณ์การทำงาน และหน่วยงานที่สังกัดที่มีความแตกต่างกัน ทำให้การรับรู้ถึงปัจจัยองค์ประกอบความเป็นองค์การนวัตกรรมและสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ 1 3) ระดับความเป็นองค์การนวัตกรรมของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีความสัมพันธ์กับระดับสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนค่อนข้างสูงและเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ 2
Other Abstract: The purposes of this research are: (1) the opinion of government officials in The Office of The Civil Service Commission (OCSC) about innovative organization and innovative creation competency (2) to study the difference of personal factors of government officials about innovative organization and innovative creation competency of the OCSC and (3) to find the correlation between innovative organization and innovative creation competency of the OCSC. 242 officials participated in this research. The data were collected by using both close-ended and open-ended questions. They, them were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearson Correlation Coefficient in order to answer 2 hypotheses; (1) Difference of personal factors are related perception in innovative organization and innovative creation competency and (2) A high level of innovative organization leads to high level of innovative creation competency. It was found from the study that: (1) there was a high level of overall opinion of the OCSC officials in innovative organization and innovative creation competency. (2) It was found that gender is only related to the perception in innovative creation competency, at 0.05 level while age, education, current position, work experience and sector were not found to be related to innovative organization and innovative creation competency, at 0.05 level. (3) The level of innovative organization significantly relates to innovative creation competency, at 0.01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50087
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5680623024.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.