Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50151
Title: GENETIC RELATEDNESS AND RISK FACTORS ASSOCIATED WITH CAMPYLOBACTER IN THAI BROILER PRODUCTION CHAIN
Other Titles: ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในห่วงโซ่การผลิตไก่เนื้อในประเทศไทย
Authors: Sakaoporn Prachantasena
Advisors: Taradon Luangtongkum
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
Advisor's Email: Taradon.L@Chula.ac.th,taradon.l@chula.ac.th
Subjects: Broilers (Chickens)
Campylobacter
ไก่เนื้อ
แคมพัยโรแบคเตอร์
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Campylobacter is considered as the major foodborne bacterial pathogen worldwide. Consumption and handling of contaminated food, particularly poultry meat product, are the important cause of Campylobacter infection. To reduce the number of human cases, the epidemiology of Campylobacter in poultry must be better understood. In Thailand, only limited information on Campylobacter in chicken meat production has been reported. Therefore, the objectives of this study were 1) to determine the prevalence and risk factors associated with Campylobacter in Thai broiler flocks and 2) to investigate genetic relatedness of Campylobacter strains isolated from broiler production chain in Thailand. Campylobacter colonization status was identified in 250 broiler flocks which were mainly raised in central and eastern parts of Thailand. Moreover, farm and flock data was collected by structured questionnaires. To identify risk factors associated with Campylobacter colonization in broiler flocks, logistic regression model (LRM) and generalized estimating equations (GEE) were performed. The distribution and genetic relatedness of Campylobacter were determined in 5 broiler production chains. flaA SVR sequencing and multilocus sequence typing (MLST) were used as genotyping methods in this study. Of 250 examined broiler flocks, 119 flocks were tested positive for Campylobacter (47.60%; 95% CI 41.41 - 53.79%). Most positive flocks had high level of within-flock prevalence (>75%). C. jejuni was the predominant species observed in this study, followed by C. coli. For the risk factor analysis, the history of Campylobacter colonization in previous flocks was identified as the most important risk factor associated with Campylobacter colonization in examined broiler flocks. Amongst 311 Campylobacter isolates from breeders to slaughterhouses selected for genetic characterization, 29 flaA SVR alleles and 17 sequence types (STs) were identified. The common clonal complexes (CCs) found in this study were CC-45, CC-353, CC-354 and CC-574. Mostly, C. jejuni isolated from breeders were distantly related to those isolated from broilers and chicken carcasses, while C. jejuni isolates from the slaughterhouse environment and meat products were similar to those isolated from broilers. Our findings underline the importance of hygienic practices on farm and slaughterhouse as well as strict biosecurity as the effective tool for reducing the transmission of Campylobacter from chickens to humans.
Other Abstract: แคมไพโลแบคเตอร์เป็นเชื้อแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษที่มีความสำคัญทางสาธารณสุขเป็นอย่างมาก การสัมผัสหรือรับประทานอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อไก่ที่ปนเปื้อนเชื้อจัดเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ การศึกษาเชิงระบาดวิทยาของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อไก่จึงเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่อาจช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อนี้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การศึกษาเกี่ยวกับเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในฝูงไก่เนื้อของประเทศไทย และ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ที่แยกได้จากกระบวนการผลิตเนื้อไก่ในประเทศไทย การศึกษานี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างลำไส้และข้อมูลการเลี้ยงจากฝูงไก่เนื้อในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทยจำนวน 250 ฝูง ผลการเพาะเชื้อและข้อมูลการเลี้ยงจะถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธี logistic regression model (LRM) และ generalized estimating equations (GEE) เพื่อทำการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในฝูงไก่เนื้อ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ตลอดวงจรการผลิตเนื้อไก่ทั้งหมด 5 แห่งและวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อที่แยกได้ด้วยวิธี flaA SVR sequencing และ multilocus sequence typing ผลการศึกษาพบว่า จากฝูงไก่จำนวน 250 ฝูง มีฝูงไก่ที่ให้ผลบวกต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จำนวน 119 ฝูง (47.60%; 95% CI 41.41 - 53.79%) โดยฝูงที่ติดเชื้อจะมีความชุกภายในฝูงค่อนข้างสูง (มากกว่า 75%) ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าเชื้อ C. jejuni เป็นสายพันธุ์หลักที่พบ รองลงไปเป็น C. coli จากการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในฝูงไก่เนื้อ พบว่าการมีประวัติการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในฝูงที่เลี้ยงก่อนหน้าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับการศึกษาครั้งนี้ จากการศึกษาลักษณะพันธุกรรมของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ที่แยกได้จากวงจรการผลิตเนื้อไก่จำนวน 311 เชื้อ สามารถระบุลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อได้ทั้งหมด 29 แบบด้วยวิธี flaA SVR sequencing นอกจากนี้เชื้อบางส่วนที่ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธี multilocus sequence typing สามารถแยกลักษณะทางพันธุกรรมได้ 17 แบบ โดย clonal complexes ที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ CC-45 CC-353 CC-354 และ CC-574 โดยภาพรวม เชื้อที่แยกได้จากพ่อแม่พันธุ์มีความแตกต่างจากเชื้อที่พบในฝูงไก่เนื้อและโรงเชือด ในขณะที่เชื้อที่พบในฝูงไก่เนื้อมักมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับเชื้อที่แยกได้จากอุปกรณ์ในโรงเชือดและเนื้อไก่ การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการฟาร์มและโรงเชือดอย่างถูกสุขลักษณะ รวมไปถึงการใช้ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ที่เข้มงวดในฟาร์มไก่เนื้อ เพื่อควบคุมและป้องกันการถ่ายทอดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จากฟาร์มไปยังผู้บริโภค
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Veterinary Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50151
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.564
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.564
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5375955431.pdf7.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.