Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50166
Title: | การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างจริยธรรมการดูแลผู้สูงอายุสำหรับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ |
Other Titles: | Development of a non-formal education program using neo-humanist concept to enhance ethics in caring the elderly for the care for the elderly at home volunteers |
Authors: | ณัฐชานันท์ วีระกุล |
Advisors: | วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา เกียรติวรรณ อมาตยกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Worarat.A@Chula.ac.th,aeworarat@yahoo.com kiatiwanamatyakul@yahoo.com |
Subjects: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน การพัฒนาจริยธรรม ผู้สูงอายุ -- การดูแล Non-formal education Moral development Older people -- Care |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสังเคราะห์โปรแกรมการสอนผู้ดูแลผู้สูงอายุประกอบด้วย วิธีการ เนื้อหา และกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุสำหรับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามหลักคุณธรรมตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุสำหรับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุไปใช้ ผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านสามพร้าว ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่มทดสอบก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม และมีการติดตามผลพฤติกรรมของกลุ่มทดลองหลังสิ้นสุดการเข้าร่วมโปรแกรมเป็นเวลา 1 เดือน ผลการวิจัยว่า 1. ผลการสังเคราะห์โปรแกรมการสอนผู้ดูแลผู้สูงอายุ พบว่า โปรแกรมการสอนที่ศึกษาจากเอกสาร ตำรา กรณีศึกษาที่ดี และการศึกษาภาคสนาม จะมีวิธีการ เนื้อหา และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมการดูแลผู้สูงอายุ คือองค์ประกอบจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ 7 ประการ ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความกตัญญูกตเวที ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ความอุตสาหะ และความเมตตา 2. ผลการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เพิ่มขึ้น (ค่าเฉลี่ยมากขึ้น 2.31) มีเจตคติดีขึ้น (ค่าเฉลี่ยมากขึ้น4.80) ทักษะดีขึ้น (ค่าเฉลี่ยมากขึ้น 4.76) และการประเมินตนเองเกี่ยวกับจริยธรรมการดูแลผู้สูงอายุสูงขึ้น (ค่าเฉลี่ย 4.90) และค่าเฉลี่ยจริยธรรมการดูแลผู้สูงอายุ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความเสียสละ ด้านความอุตสาหะ และด้านความเมตตา ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นด้านความกตัญญูกตเวทีไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการประเมินคู่มือของโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส มีการใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ และมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำคู่มือไปใช้ ได้แก่ เนื้อหาและกิจกรรม และเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคในการนำคู่มือไปใช้ ได้แก่ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ความสามารถและประสบการณ์ของผู้เรียน 3. ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนไปใช้ ได้แก่ บรรยากาศในการจัดกิจกรรมที่ไว้ใจซึ่งกันและกัน การสร้างบรรยากาศให้คลื่นสมองต่ำ เช่น การร้องเพลง บาบา นัม เควาลัม การทำอาสนะท่าเบาๆ เพื่อให้ผ่อนคลาย การพูดเชิงบวกของวิทยากรและการสร้างข้อตกลงเกี่ยวกับการพูดเชิงบวกของทุกๆ คน และเนื้อหาในกิจกรรมจะต้องเป็นที่สนใจของผู้เรียน ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานหรือประสบการณ์ตรง และเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคในการนำโปรแกรมไปใช้ ได้แก่ ทัศนคติของผู้เรียน ภูมิหลังของผู้เรียน กิจกรรมและเนื้อหา ความพร้อมของผู้เรียน การเลือกท่าโยคะอาสนะที่เหมาะสมกับผู้เรียน ความตระหนักของผู้เรียน และการติดตามผลของผู้ใช้บริการของผู้ดูแลผู้สูงอายุ |
Other Abstract: | The purposes of this research were: 1) to analyze education program for volunteer to take care of elderly people including methods, content, and activities to promote morality. 2) to develop informal education program based on the principle of Neo-humanist for care takers of elderly people. 3) to study the factors and conditions that influence applying the informal education program based on morality principle of Neo-humanist concept for care takers of elderly people. The research studies with the elderly care taker who live in Samprao district, Udonthani province. The samples of this study were 30 elderly care takers subjects. The research methodology was the qualitative research by using quasi-experimental design approach with one group pretest and posttest then follow up the behavior’s experimental group for one month subsequently. The results of the research were as followed: The elderly care taker instruction program of secondary data, best practice and field work study had method, content and activity for studying in the ethics in caring the elderly consist of 1) responsibility 2) faithfulness 3) gratitude 4) discipline 5) sacrifice 6) perseverance 7) hospitality. The results showed that the experimental group improved in knowledge (increased=2.31), positive-attitude (increased=4.80), positive-practicing (increased=4.76) and self-assessment (increased=4.90). In addition, the experimental group had the ethics in caring the elderly test score in responsibility, faithfulness, discipline, sacrifice, perseverance and hospitality at .00 level of significant, but not significant in gratitude dimension. The results of an evaluation of program manual and the developed model were reported as very good in ethics in caring the elderly promoting application. The factors that influencing the program manual achievement were: 1) content 2) activity. Limitations that influencing the program manual were: 1) the needs and interests of learners and 2) the ability and experience of the learners. The factors that influencing the program achievement were: 1) the atmosphere in the event that trust each other 2) the ambiance brainwave low as mediation and yoga postures gently and speaking positively of a speaker and 3) the content of the event that involved with work experience will be of interest to them. Limitations that influencing the program were: 1) attitude 2) background of learners 3) activity and content 4) right yoga asana classes 5) awareness of learners and 6) monitoring of the service of caregivers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50166 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1231 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1231 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384219727.pdf | 9.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.