Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50236
Title: ผลกระทบของโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่งต่อประชากรหอยแครง Anadara granosa (Linnaeus, 1758) ตำบลแหลมใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม
Other Titles: Impact of bamboo fencing coastal defense structure on blood cockle Anadara granosa (Linnaeus, 1758) population at Tambon Laemyai, Samut Songkhram Province
Authors: สุเมธ แก้วน้อย
Advisors: ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์
ธีระพงศ์ ด้วงดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Nittharatana.P@Chula.ac.th,jarmarine@yahoo.com
tdku@hotmail.com
Subjects: หอยแครง
การป้องกันชายฝั่ง
Cockle fisheries
Coast defense
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลกระทบของโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่งต่อประชากรหอยแครง Anadara granosa (Linnaeus, 2556) ตำบลแหลมใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2557 การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบความหนาแน่น การกระจายและการเติบโตของประชากรหอยแครงตลอดจนการเจริญพันธุ์และปริมาณลูกหอยลงเกาะในสามบริเวณคือ บริเวณด้านหลังโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่ง บริเวณด้านหน้าโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่ง บริเวณด้านหน้าโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่งที่เป็นแหล่งประมง นอกจากนี้ยังศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติองค์ประกอบของดินตะกอนที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ผลการศึกษาพบว่าความหนาแน่นของหอยแครงในรอบปีบริเวณตำบลแหลมใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม มีค่าตั้งแต่ 4-32 ตัวต่อตารางเมตร ความหนาแน่นหอยแครงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทั้งระหว่างบริเวณและฤดูกาลที่เก็บตัวอย่าง พบบริเวณด้านหน้าโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่งที่เป็นแหล่งประมงเฉลี่ยสูงสุด 18.67 ตัวต่อตารางเมตร รองลงมาคือ บริเวณด้านหน้าโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่งและพบน้อยสุดบริเวณด้านหลังโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่ง พบความหนาแน่นของหอยแครงในช่วงฤดูแล้งมากกว่าช่วงในฤดูฝน ขนาดตัวของหอยแครงมีขนาดความยาวเปลือกเล็กสุดอยู่ระหว่าง 1.00-1.25 ซม. และขนาดหอยแครงใหญ่สุดอยู่ระหว่าง 4.51-4.75 ซม. พบประชากรหอยแครงหอยเพศผู้และเพศเมียในบริเวณแหลมใหญ่ที่มีความชุกชุมมากที่สุดมีขนาดตั้งแต่ 2.26-2.50 ซม. ถึงขนาด 3.26-3.50 ซม. ในทั้งสองฤดูและทั้งสามบริเวณ หอยขนาดใหญ่ตั้งแต่ 3.51-3.75 ซม. ถึง 4.51-4.75 ซม. พบชุกชุมบริเวณด้านหน้าโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่งที่เป็นแหล่งประมง จากการศึกษาทางมิญชวิทยาพบระยะพัฒนาการของเซลล์ในหอยแครงเพศผู้และเพศเมียพร้อมขนาดแรกเริ่มของหอยแครงในแต่ละระยะ พบขนาดความสมบูรณ์เพศเริ่มแรกของหอยแครงเพศผู้และเพศเมียมีขนาดเท่ากับ 2.35 ซม. ดังนั้นหอยแครงเพศผู้เพศเมียกลุ่มเด่นที่พบเป็นกลุ่มหอยที่เจริญพันธุ์สมบูรณ์เต็มที่และสามารถวางไข่ตลอดทั้งปี สัดส่วนหอยแครงเพศผู้ต่อเพศเมียมีค่าเท่ากับ 1.13:1 ระยะการพัฒนาเซลล์สืบพันธุ์หอยแครงในสามบริเวณคล้ายคลึงกัน ฤดูกาลสืบพันธุ์ของหอยแครงในบริเวณแหลมใหญ่สรุปได้ว่าหอยแครงมีการสืบพันธุ์ได้ตลอดทั้งปีโดยมีฤดูกาลที่มีการวางไข่ปริมาณสูงสุด 2 ช่วง คือ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม ช่วงที่สองที่มีการวางไข่อีกเป็นช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ดัชนีความสมบูรณ์ของหอยแครงบริเวณแหลมใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม มีค่าระหว่าง 15.03-25.19 จัดว่ามีค่าสูงตลอดปี ค่าดัชนีความสมบูรณ์ของหอยแครงมีช่วงสูงสุดสองช่วงคือ เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์และในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ปริมาณลูกหอยลงเกาะพบได้ตั้งแต่เดือนเมษายน เดือนมิถุนายน เดือนสิงหาคมและเดือนตุลาคมโดยในเดือนมิถุนายนมีปริมาณลูกหอยลงเกาะมากที่สุดทุกบริเวณ บริเวณด้านหลังโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่งมีปริมาณลูกหอยลงเกาะน้อยที่สุด อัตราการเติบโตของหอยแครงในสามบริเวณมีค่าใกล้เคียงกันโดยบริเวณด้านหลังโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่งพบหอยแครงขนาดเล็กมีอัตราการเติบโตช้ากว่า แต่อัตราการเติบโตในหอยแครงขนาดใหญ่มีค่าใกล้เคียงกันทั้งสามบริเวณ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลของโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่งต่อประชากรหอยแครงในตำบลแหลมใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม คือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะดินตะกอนตามฤดูกาลและตามช่วงดำเนินการสร้างโครงสร้างแนวไม้ไผ่ป้องกันชายฝั่ง โดยพบสัดส่วนของทรายแป้งและทรายเพิ่มขึ้นในขณะที่สัดส่วนของดินเหนียวลดลง สัดส่วนปริมาณอินทรียสารในดินมีแนวโน้มลดลง ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความหนาแน่นและการกระจายของหอยแครงในบริเวณนี้ได้แก่สัดส่วนดินเหนียวในดินตะกอน ปริมาณอินทรียสารในดินและความเค็มในดิน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงลักษณะดินตะกอนในบริเวณนี้ทำให้ประชากรหอยแครงลดลงในระยะยาวทั้งหอยแครงที่โตเต็มวัยและลูกหอยแครง การดำเนินการจัดการทรัพยากรหอยแครง โดยควบคุมปริมาณการจับ ขนาดของหอยแครงที่จับขายและช่วงฤดูกาลที่จับ การอนุรักษ์พื้นที่เพื่อเป็นแหล่งพ่อแม่พันธุ์หอยแครงบริเวณแหลมใหญ่และการปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำควบคู่กันเพื่อให้บริเวณดอนหอยแครงแหลมใหญ่สามารถเป็นแหล่งผลิตหอยแครงอย่างต่อเนื่อง
Other Abstract: Impact of bamboo fencing as coastal defense structure on blood cockle Anadara granosa (Linnaeus,1758) population at Tambon Laemyai, Samut Songkharm Province was conducted during December 2013 to November 2014. Comparative study on the abundance, distribution and growth as well as the reproductive cycle and larval abundance of the cockle population was carried out in the three respective areas; the area behind the bamboo fencing, the area in front of the bamboo fencing and the cockle fishing ground in front of the bamboo fencing. Changes in sediment characteristics in relation to the changes in population structures were also carried out. The result showed the annual density of cockles in Tambon Laemyai, Samut Songkharm Province was in the range of 4-32 individuals per square meter. Temporal and spatial differences in the cockle density were significant. Highest cockle density recorded from the cockle fishing ground in front of the bamboo fencing of 18.68 individuals per square meter. The area in front of the bamboo fencing area behind the bamboo fencing showed lower density inrespective order. High density was recorded during the dry season as compared to the wet season. The cockle size found in this area ranged from the smallest shell length of 1.00-1.25 cm. to the largest of 4.51-4.75 cm. Dominant cockle size group both males and females that widely distributed in the three areas and throughout the year were in the range of 2.26-2.50 to 3.26-3.50 cm. Large size cockles of 3.51-3.75 to 4.51-4.75 cm. were found in abundance in the cockle fishing ground in front of the bamboo fencing. The reproductive cycle and size at maturation of each gonadal stage as revealed from the histological study revealed the first sexual maturation size of cockles both in males and females was 2.35 cm. This indicated that the dominant cockle size group found in the area was sexually matured and can spawn throughout the year. Similar gonad development patterns were observed in the three areas. The male and female ratio was 1.13:1 Cockle at Tambon Laemyai spawned all year round with two highest peaks in December to March and from Jury to October. High condition indices of 15.03-25.19 occurred throughout the year with the highest peaks in January to February and September to October. Settled larval density can be found during April, June, August and October. Highest settled larval density found throughout the area in front of the bamboo fencing. The growth patterns in the three areas were similar with the lower growth rate in the small cockle appeared in the area behind the bamboo fencing. In the large size cockles, the growth patterns from the three areas were similar. The study revealed the impact of bamboo fencing as coastal defense structure on the blood cockle population at Tambon Laemyai was due to the changes in sediment characteristics seasonally and period of the construction of bamboofencing. The silt and sand fractions showed the increasing trend with the reduction of clay fractions in the sediment. Reduced organic content also apparent. Three important environmental parameters affecting the cockle population were the clay fractions, the organic content and the salinity in the sediment. Changes in sediment characteristics showed profound effect in the long term on the declining cockle population in the area both the matured and juvenile cockles. Measures on the cockle management in the area were proposed in order to sustain the productive cockle bed at Tambon Laemyai Samut Songkharm Province. Fishing regulations were proposed on controlled fishing catch, fishing size for cockle and fishing season. Conserved area for parental stocks and grow out as well as the mangrove reforestation in the area were also recommended to ensure the sustainability of the Tambon Laemyai cockle fishing ground.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50236
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.843
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.843
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572157623.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.