Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50268
Title: การเมืองของการนำนโยบายแห่งชาติด้านยาไปปฏิบัติ: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
Other Titles: The politics of drug policy implementation: A comparative study between drug selection into the National List of Essential Drugs and Rational Drug Use
Authors: เอกวีร์ มีสุข
Advisors: พิษณุ เสงี่ยมพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Pisanu.S@Chula.ac.th,pisanu.sangiampongsa@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติและตัวแสดงในเครือข่ายนโยบายในสองประเด็นของระบบยา โดยมุ่งทดสอบปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการฯ และเครือข่ายนโยบายในสองประเด็นของระบบยาผ่านการศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการฯ และเครือข่ายนโยบายในประเด็นการคัดเลือกยาผ่านการจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ กับระหว่างคณะกรรมการฯ และเครือข่ายนโยบายในประเด็นการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล วิทยานิพนธ์มีสมมติฐานว่ารูปแบบความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการฯ และเครือข่ายนโยบายในสองประเด็นของระบบยาที่แตกต่างกันส่งผลให้การนำนโยบายยาไปปฏิบัติในสองเครือข่ายมีรูปแบบที่แตกต่างกันด้วย วิทยานิพนธ์นี้อาศัยแนวคิดการบริหารปกครอง แนวคิดเครือข่ายนโยบาย และแนวคิดการนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อใช้เป็นกรอบการศึกษาและการวิเคราะห์ โดยวิธีการศึกษาจากการเก็บรวมข้อมูลประกอบด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าในประเด็นการคัดเลือกยาผ่านการจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ คณะกรรมการฯ สามารถพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และหลักเกณฑ์เพื่อการคัดเลือกยาผ่านการจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างคณะกรรมการฯ ต่อเครือข่ายนโยบายและช่วยให้เครือข่ายนโยบายยอมรับการกำกับทิศทางการคัดเลือกยาเพื่อจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติของคณะกรรมการฯ จนส่งผลให้การคัดเลือกยาในทางปฏิบัติสอดคล้องกับนโยบายแห่งชาติด้านยา แตกต่างจากประเด็นการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่มีความซับซ้อนและมีข้อถกเถียงในหลายประการที่ยังไม่สามารถนำไปสู่แนวทางในการปฏิบัติร่วมกันได้ ซึ่งเป็นผลจากตัวแสดงในเครือข่ายนโยบายฯที่มีความหลากหลายและเป็นอิสระจากกำกับดูแลของคณะกรรมการฯ อีกทั้ง คณะกรรมการฯ ไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายนโยบายไม่มากนัก ดังนั้น คณะกรรมการฯ ต้องอาศัยการขอความร่วมมือกับตัวแสดงในเครือข่ายนโยบายเพื่อนำนโยบายไปปฏิบัติ ดังนั้น จึงเกิดความไม่แน่นอนของการนำนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับทิศทางและเจตนารมณ์ของคณะกรรมการฯ
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the roles of the National Drug System Development Committee and actors within the policy networks of two separate issues in the Thai pharmaceutical system. The interaction and relationship between the Committee and the two networks are also examined. Specifically, the relationship and interaction between the Committee and the policy network in the issue of drug selection into the National List of Essential Medicines (NLEM) are compared to those between the Committee and the policy network in the issue of rational drug use. It was hypothesized that different styles of relationship and interaction between the Committee and the two networks lead to dissimilar fashions of drug policy implementation in these two separate issues. Governance, policy network, and public policy implementation theories help provide the framework for the research and analysis. The methods used to gather empirical evidence consist of documentary research and in-depth interviews. The study result shows that within the issue of drug selection in to the NLEM, the Committee well fabricates the structure, process and guidelines of drug selection into the NLEM. One result is a close relationship between the Committee and the policy network of this particular issue, as well as an acquiescence of the network to the Committee’s direction of drug selection, hence, making the implementation of drug selection in line with the national drug policy. On the other hand, there are complexity and much contention within the issue of rational drug use, along with diversified actors in the policy network of this particular issue. Also, such actors are mostly unaccountable to the supervision of the Committee. And the Committee seems to have neither a close relation nor much interaction with the policy network of this issue. Consequently, the Committee has to resort to only asking for a cooperation of actors within this issue’s policy network. Thus, it is uncertain that the implementation of the rational drug use policy is in accordance with the Committee’s direction and intention.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50268
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580631024.pdf9.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.