Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50356
Title: | ผลของว่านหางจระเข้ต่อการลดการอักเสบ และการตายของเนื้อเยื่อตับในหนูแรท ที่มีภาวะตับอักเสบจากไขมันลงตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ |
Other Titles: | Effects of Aloe vera on inflammation and apoptosis in rat with non-alcoholic steatohepatitis |
Authors: | จุฑามาศ วงศ์ภูมิ |
Advisors: | นฤมล คล้ายแก้ว ดวงพร วีระวัฒกานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Naruemon.K@Chula.ac.th,wnaruemon@gmail.com dr.duangporn@gmail.com |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โรคไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์หรือ Nonalcoholic steatohepatitis (NASH) เป็นโรคตับที่เป็นปัญหาสำคัญของโลก พบในผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน มีภาวะอ้วน โดยจะพบการสะสมเม็ดไขมันทั้งแบบใหญ่และแบบเล็ก รวมทั้งพบการอักเสบเกิดขึ้นในเนื้อตับเมื่อส่องดูใต้กล้องจุลทรรศน์ หากมีการพัฒนาความรุนแรงของโรคเกิดขึ้นจะทำให้เกิดภาวะตับแข็ง จนอาจกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด แต่ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษาโรคนี้อย่างจำเพาะเจาะจง ในงานวิจัยนี้เป็นการรักษาทางเลือกโดยใช้สมุนไพร คือว่านหางจระเข้ในการรักษาและป้องกันภาวะไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ โดยทำการทดลองในหนูแรทสายพันธุ์ Sprague-Dawley เพศผู้ แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม กลุ่ม NASH และกลุ่ม Aloe โดยในกลุ่มควบคุม จะให้อาหารปกติ กลุ่ม NASH จะให้อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลฟรุกโทสสูง และกลุ่ม Aloe จะให้อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลฟรุกโทสสูงร่วมกับการให้ว่านหางจระเข้ 50 มิลลิกรัมต่อ น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ทางท่อให้อาหารทุกวัน โดยทุกกลุ่มการทดลองให้อาหารและน้ำแบบไม่จำกัด ทำการทดลองจนครบ 8 สัปดาห์จึงนำหนูทดลองมาทำการวิเคราะห์ โดยจะแบ่งออกเป็น ส่วนของซีรัมนำมาวิเคราห์ระดับเอนไซม์ aspartate transaminase (AST) และ alanine transaminase (ALT) และส่วนของเนื้อเยื่อตับ นำมาตรวจดูระดับของ malondialdehyde (MDA) และ glutathione (GSH) การแสดงออกของperoxisome proliferators-activated receptor gamma (PPARγ) การแสดงออกของ interleukin-18 (IL18) การตายแบบ apoptosis และดูลักษณะทางพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อตับ จากการทดลองพบว่าหนูในกลุ่ม NASH พบลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ โดยพบเม็ดไขมันทั้งแบบใหญ่และแบบเล็ก มีการบวมของเซลล์ รวมทั้งพบเซลล์อักเสบเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่ามีระดับ MDA เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีระดับของ GSH ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การแสดงออกของ PPARγ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การแสดงออกของ IL-18 การตายแบบ apoptosis เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ระดับของเอนไซม์ AST เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และเมื่อมีการให้ว่านหางจระเข้ 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมพบว่ามีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพดีขึ้น โดยพบการสะสมของเม็ดไขมัน การบวมของเซลล์และเซลล์อักเสบลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม NASH นอกจากนี้พบว่ามีระดับ MDA เอนไซม์ AST ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับของ GSH เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การแสดงออกของ PPARγ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การแสดงออกของ IL-18 และการตายแบบ apoptosis ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม NASH สรุปได้ว่าว่านหางจระเข้ที่ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม สามารถเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มการแสดงออกของ PPARγ และลดการอักเสบและการตายของเนื้อเยื่อตับในหนูแรทที่ให้อาหารไขมันและน้ำตาลฟรุกโทสสูง จึงมีผลทำให้พยาธิสภาพของตับดีขึ้น ดังนั้นผลการศึกษาประสิทธิผลของว่านหางจระเข้ในครั้งนี้ จึงอาจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาและป้องกันโรคไขมันในตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ได้ |
Other Abstract: | Non-alcoholic steatohepatitis (NASH) is one of the liver diseases that composed features of macro vesicular and micro vesicular fat, hepatocellular ballooning and lobular inflammation on histopathological examination. Although, the prevalence of NASH is increasing, the sufficient medicines of this disease has not been proposed. The aim of this study was to examine the effects of Aloe vera on inflammation and apoptosis in rat with NASH. Male Sprague - Dawley rats were randomly allocated into 3 groups divided 6 rats in each group. In control group, rats were fed ad libitum with standard diet. In NASH group, rats were fed ad libitum with high-fat high-fructose diet (HFHFD) to induce NASH. In Aloe group, rats were fed ad libitum with HFHFD plus 50 mg/kg of Aloe vera in distilled water by gavage once daily. After 8 weeks of the experiment, all rats were sacrificed to collect blood and liver samples for biochemical analysis. The liver enzymes; aspartate transaminase (AST) and alanine transaminase (ALT), were examined in the serum. Malondialdehyde (MDA), glutathione (GSH), interleukin-18 (IL18) expression, peroxisome proliferators-activated receptor gamma (PPARγ) expression, hepatocytes apoptosis and histopathology were determined in liver samples. The results demonstrated that aspartate transaminase (AST) levels was increased significantly in the NASH group as compared with the control group. The level of hepatic MDA and IL-18 showed significantly increased, whereas, hepatic GSH level was decreased in NASH group. Moreover, the apoptosis of hepatocytes increased in NASH group. In addition, rats in NASH group showed significantly lower PPARγ expression than rats in control group. A compared with the NASH group, the Aloe vera treated group showed significantly decreased in the hepatic levels of MDA, IL-18 and hepatocytes apoptosis. The hepatic GSH level and PPARγ expression in Aloe group were significantly increased. In addition, serum level of AST significantly decreased in Aloe group. The liver histopathology of NASH group showed macro and micro vesicular fat, hepatocellular ballooning and inflammation. Moreover, Aloe group demonstrated an improvement of liver histopathology. In conclusion, Aloe vera may attenuate oxidative stress, inflammation and hepatocytes apoptosis in the liver of rats diet-induced to NASH, which contribute to improve liver histopathology in NASH rat. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50356 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674015630.pdf | 8.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.