Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50423
Title: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกับหนังสือค้ำประกันที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก
Other Titles: PROBLEMS ON LAW ENFORCEMENT OF LETTER OF GUARANTEE ISSUED BY COMMERCIAL BANK
Authors: เสาวภา เหล่าพลประทีป
Advisors: ชยันติ ไกรกาญจน์
ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Chayanti.G@Chula.ac.th,Chayanti.G@Chula.ac.th
Paitoonlaw@hotmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกหนังสือค้ำประกันถือเป็นการให้สินเชื่ออย่างหนึ่งที่เป็นการให้บริการของธนาคาร ซึ่งเป็นหนังสือสัญญาที่ธนาคารเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้าในการปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันต่าง ๆ ต่อบุคคลอื่นอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าผู้ที่ธนาคารค้ำประกันไม่ปฏิบัติตามสัญญา ธนาคารจะต้องรับผิดชอบชำระหนี้แทนลูกหนี้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามหนังสือค้ำประกัน วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาถึงประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อสัญญาของธนาคารอันส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้เป็นเจ้าหนี้ตามหนังสือค้ำประกัน ลูกหนี้ตามคำขอออกหนังสือค้ำประกัน ลูกหนี้ตามหนังสือค้ำประกัน และต่อธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกัน เพื่อให้การออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารเกิดผลสมดังความมุ่งหวังของบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า ในทางปฏิบัติ ข้อสัญญาที่กำหนดไว้ในหนังสือค้ำประกันไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย อันกระทบต่อสิทธิของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่น ข้อสัญญาที่ระบุไว้ท้ายหนังสือค้ำประกันว่า “เมื่อธนาคารหมดภาระค้ำประกัน หรือหนังสือค้ำประกันครบกำหนดอายุแล้ว โปรดส่งต้นฉบับหนังสือค้ำประกันคืนธนาคาร” ธนาคารมักใช้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามหนังสือค้ำประกันในการปฏิเสธความรับผิดจากข้อสัญญาดังกล่าวอันเนื่องมาจากลูกหนี้ทุจริต หรืออาจเป็นเพราะความผิดของเจ้าหนี้เองจากการหลงผิดคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ลูกหนี้ เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกให้ธนาคารชำระหนี้แทนลูกหนี้ได้ การที่ลูกหนี้นำหนังสือค้ำประกันไปคืนให้กับธนาคารเพื่อขอไถ่ถอนหลักประกัน หากธนาคารได้รับหนังสือค้ำประกันคืนจากลูกหนี้แล้ว และธนาคารไถ่ถอนหลักประกันให้แก่ลูกหนี้ ธนาคารย่อมไม่สามารถไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อธนาคาร ประกอบกับคำพิพากษาของศาลได้มีคำวินิจฉัยมาโดยตลอดว่ามิได้ทำให้ธนาคารหลุดพ้นจากความรับผิด นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอันเกิดจากข้อสัญญาที่กำหนดไว้ในคำขอออกหนังสือค้ำประกันโดยระบุให้ผู้ยื่นคำขอรับผิดชดใช้เงินทุกจำนวนที่ธนาคารได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไป และต้องสละสิทธิในการยกข้อต่อสู้ต่อธนาคารทุกประการ ซึ่งหากมีเหตุที่ทำให้ธนาคารเสียสิทธิในการไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เต็มจำนวนภายใต้บทบัญญัติกฎหมายลักษณะค้ำประกัน ข้อสัญญาที่กำหนดไว้ในคำขอออกหนังสือค้ำประกันข้างต้นย่อมกลายเป็นช่องทางที่ธนาคารใช้ในการเรียกให้ลูกหนี้ตามคำขอออกหนังสือค้ำประกันชำระหนี้แทน โดยอาศัยช่องว่างของกฎหมายดังกล่าว เพราะถือว่าธนาคารเป็นเจ้าหนี้โดยตรงซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติกฎหมายลักษณะหนี้ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อลูกหนี้ ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะว่า ธนาคารควรปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และความสุจริตในการติดต่อทำนิติกรรมกับลูกค้าเป็นสำคัญ รวมถึงควรมีการปรับปรุงแนวปฏิบัติในการตรวจสอบภาระผูกพันของธนาคารว่าสิ้นสุดลงเมื่อใดอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ควรกำหนดให้คำขอออกหนังสือค้ำประกันเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือค้ำประกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอาศัยช่องว่างของกฎหมายในการใช้สิทธิไล่เบี้ยของธนาคาร
Other Abstract: Letter of Guarantee is a service which Bank issues as guarantor for customers to comply their agreement or any obligation to other party. If customers don’t comply their agreement, Bank has to pay a loan for the beneficiary of a Letter of Guarantee. The purpose of this thesis is to study the laws concerning contracted agreements between the creditors, their debtors and the banks who are guarantors of the transactions in to all parties satisfaction. From initial studies, it was found that the laws enforced in the agreements do not align with prevailing laws negatively effecting the rights of all parties concerned for example the agreement at the end of each contract “when the bank has completed it’s responsibility as guarantor or when the letter of guarantee is past due, please return the original letter of guarantee to the bank”. Banks often use this point against creditors in negating responsibility claiming that the debtor is fraudulent or that the creditor misunderstood by having returned the original letter of guarantee to the debtor instead of to the bank. This is why banks claim that they cannot pay the debtor. As the debtor returns the original letter of guarantee to the bank in order to withdraw his collateral, the banks have no recourse from the debtor resulting in damages to the bank. When the verdict is handed down, the bank has to take responsibility. Furthermore, from the application of the letter of guarantee, it is stipulated that the applicant is responsible to the bank for the debt incurred to the debtor and has no claim on the bank whatsoever. In case there is a way that cause the banks loss it right to recourse from the debtor under the guarantee laws. The point which shows in the application for Letter of Guarantee will use by the bank to claim for the debt from the applicant by the loophole of the law which make the bank to be the direct creditor under the law that not fair for the debtor. The undersigned proposes that banks should operate unambiguously with ethical governance in their dealings with their customers. Furthermore, there should be improvements in the practical application of the bank in strictly keeping track the expiries of the deals made. Furthermore, the letter of application should be made part of the letter of guarantee in order to correct the problem created by the loophole in the law which banks use as recourse in claiming the debt.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายการเงินและภาษีอากร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50423
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686263934.pdf8.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.