Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50539
Title: | ความชุกของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน กับการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อ และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในโครงการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย: การศึกษาแบบติดตามผู้ป่วยไปข้างหน้า 1 เดือน |
Other Titles: | Prevalence of Anxiety and Depressive Symptoms in Home Health Care Stroke Patients and Motor Recovery and Functional Ability in Home Health Care Project, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thai Red Cross Society: 1 Month Prospective Descriptive Study |
Authors: | วีระชัย จิตภักดี |
Advisors: | สมรักษ์ สันติเบญจกุล กฤษณา พิรเวช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | somruksunti@gmail.com,somruksunti@gmail.com Krisna.P@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบติดตามผู้ป่วยไปข้างหน้า 1 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือเพื่อศึกษาความชุกของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการเยี่ยมบ้านในโครงการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 52 ราย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าต่อการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อ และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้าร่วมโครงการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในระยะเวลา 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการแพทย์ แบบวัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยฉบับภาษาไทย แบบประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหว แบบประเมินดัชนี บาร์เธล เอ ดี แอล และแบบบันทึกองศาการเคลื่อนของข้อไหล่ ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาในรูปของ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ ไค-สแควร์ และ การถดถอยโลจิสติก เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ผลจากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 55.8 มีอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าจากการเยี่ยมในครั้งแรก (คิดเป็นอาการวิตกกังวลร้อยละ 19.2 และอาการซึมเศร้าร้อยละ 51.9) เมื่อติดตามผู้ป่วยเป็นเวลา 1 เดือน พบว่ามีอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าลดลงเหลือเพียงร้อยละ 25.0 (คิดเป็นอาการวิตกกังวลร้อยละ 9.6 และอาการซึมเศร้าร้อยละ 21.2) นอกจากนี้พบว่าอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และช่วงองศาการเคลื่อนของข้อไหล่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 และเมื่อวิเคราะห์ด้วย การถดถอยโลจิสติก พบว่าปัจจัยทำนายการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อคือ นักกายภาพบำบัด ตำแหน่งพยาธิสภาพของสมอง อาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า(p<0.05) ปัจจัยทำนายความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันคือ อายุ รายได้ อาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า(p<0.05) ปัจจัยทำนายช่วงองศาการเคลื่อนของข้อไหล่ข้างอ่อนแรงคือ รายได้ นักกายภาพบำบัด อาการปวดข้อไหล่ข้างที่มีพยาธิสภาพ อาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า(p<0.05) |
Other Abstract: | The present study was a one month prospective descriptive research which aimed to examine the prevalence of anxiety and depressive symptoms in 52 home health care stroke patients and the effect of anxiety and depression on the motor recovery and functional ability in home health care project, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thai Red Cross Society. The research instruments used demographic data, medical data, Thai version of Hospital Anxiety and Depression Scale, the Motor Assessment Scale, the Bathel ADL index, and the shoulder range of motion data. The data were analyzed using descriptive statistic : percentage, mean, and standard deviation. Chi-square and logistic regression were used to find the correlation between independent variable and dependent variable. The results showed that the percentage of anxiety and depression are 57.6 (Anxiety 19.2%, Depression 51.9%) in 1 month post-discharge and 25.0 (Anxiety 9.6%, Depression 21.2%) in 1 month after the home health care program. Anxiety and depression were significantly associated with motor recovery, functional ability, and shoulder range of motion at p<0.05. After analyzed by logistic regression, Factors predicting motor recovery were a personal physical therapist, pathology lesion on brain, anxiety and depressive symptom (p<0.05). Activity Daily Living was significantly predicted by elderly age, income, anxiety and depressive symptom at p<0.05. Shoulder range of motion was significantly predicted in income, a personal physical therapist, shoulder pain, anxiety and depressive symptom at p<0.05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50539 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774091330.pdf | 5.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.