Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50601
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคณพล จันทน์หอมen_US
dc.contributor.authorวรรษนนท์ บรรณมาศen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:10:29Z-
dc.date.available2016-12-01T08:10:29Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50601-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะศึกษาและแสวงหาองค์ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยนับตั้งแต่ช่วงก่อนการปฏิรูปกฎหมาย จนกระทั่งถึงช่วงหลังการปฏิรูปกฎหมายที่เกิดกระบวนการร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาจนถึงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฉบับปัจจุบัน เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค และสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของผู้มีอำนาจสอบสวน จากการศึกษาวิจัยพบว่าการสอบสวนเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนแรกของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และส่งผลต่อการดำเนินการในขั้นอื่นๆ ต่อไป แม้ว่าในยุคแรกเริ่มจะไม่ได้มีการใช้คำว่า “การสอบสวน” โดยชัดแจ้ง และยังไม่มีระบบการสอบสวนที่แน่ชัด แต่แนวคิดเบื้องหลังของการสอบสวน คือการค้นหาความจริง และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโทษ กลับปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และยังคงเป็นแนวคิดที่ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงระบบการสอบสวนในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีแม้แนวคิดในเรื่องการสอบสวนจะมีมาเป็นระยะเวลานาน แต่ในส่วนของระบบการสอบสวนที่เริ่มมีการกำหนดตัวบุคคลผู้มีหน้าที่ทำการสอบสวน และกระบวนการสอบสวนที่แน่ชัดกลับเพิ่งปรากฏเมื่อมีการร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาขึ้น ดังนั้นเมื่อได้พิจารณากระบวนการร่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พบว่าผู้มีอำนาจสอบสวน มีความแตกต่างกันในแต่ละร่างของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยขึ้นกับมูลเหตุในการแก้ไขระบบการสอบสวนที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านสังคมการเมืองการปกครอง, ปัจจัยทางด้านสังคมการเมืองระหว่างประเทศ, ปัจจัยทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และปัจจัยทางด้านสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีอำนาจสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยก็ได้วางหลักการในเรื่องกระบวนการสอบสวนไว้เป็นอย่างดีแล้วen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this thesis is to explore body of knowledge of development of Thai Criminal Procedure since pre-reform age until post-reform age, which the draft Criminal Procedure Code processes were conducted until present code, to show the problems, obstacles and causes of change that relate to modification of Inquiry Authorities. The findings showed that inquiry is the first important practice of Criminal Procedure and affects others following conducts. Even if in early period did not obviously use the word “Inquiry” and did not exactly have inquiry system, the concept of inquiry that is to acquire the truth and to compile evidences for bringing offenders into punishment was known since Sukhothai period and stands still at present. The concept of inquiry was occurred for long time, however, the explicitly specifications of persons who response for investigation and methods of inquiry were just appeared when Criminal Procedure Code was conducted. As per the draft Criminal Procedure Code processes, Inquiry Authorities in each drafts are different, depend on different factors such as social politics, government and international politics, international laws and liberty and human rights. Any how, no matter whoever Inquiry Authorities is, Thai criminal Procedure had well prepared on methods of inquiry already.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleพัฒนาการกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย: ศึกษากรณีผู้มีอำนาจสอบสวนen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Thai Criminal Procedure: A Study of Inquiry Authoritiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKanaphon.C@Chula.ac.th,Kanaphon.C@Chula.ac.then_US
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786016334.pdf55.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.