Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50692
Title: ผลของรูปแบบการเวียนสลัดจ์และอายุสลัดจ์ต่อการกำจัดธาตุอาหารทางชีวภาพโดยระบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรนร่วมกับตัวกลางแบบท่อเอียง 2 ขั้นตอน
Other Titles: Effects of sludge recirculation pattern and sludge age on biological nutrient removal by two-stage inclined-tube membrane bioreactor
Authors: จุฑามาศ คะตะสมบูรณ์
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chavalit.R@Chula.ac.th,dr_chawalit@yahoo.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาผลของรูปแบบการเวียนสลัดจ์ และอายุสลัดจ์ต่อการกำจัดธาตุอาหารทางชีวภาพด้วยระบบถังปฏิกรณ์เมมเบรนชีวภาพร่วมกับการใช้ตัวกลางแบบท่อเอียง 2 ขั้นตอนเพื่อการนำน้ำเสียจากอาคารกลับมาใช้ใหม่ ระบบมีอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 1.6 กิโลกรัม.ซีโอดี/ลูกบาศก์เมตร-วัน ระยะเวลากักน้ำ 5.6 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่ารูปแบบการเวียนสลัดจ์มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีและฟอสฟอรัสของระบบแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) แต่ไม่ส่งผลแตกต่างกันต่อประสิทธิภาพการกำจัดไนโตรเจน ส่วนอายุสลัดจ์ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดของระบบ โดยรูปแบบการเวียนสลัดจ์แบบที่ 2 คือ การเวียนสลัดจ์จากส่วนแอโรบิกไปยังส่วนแอนอกซิก และจากส่วนแอนอกซิกไปยังส่วนแอนแอโรบิก และอายุสลัดจ์ที่ 40 วัน ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดดีที่สุด ซึ่งพบว่าระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีที่สภาวะคงตัวเฉลี่ยร้อยละ 95 มีประสิทธิภาพในการกำจัดไนโตรเจนที่สภาวะคงตัวเฉลี่ยร้อยละ 96 และมีประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสที่สภาวะคงตัวเฉลี่ยร้อยละ 94 ในถังปฏิกรณ์พบว่ามีจุลชีพกลุ่ม AOB (Ammonia oxidizing bacteria) , Nitrospira และ PAO (Phosphorus Accumulating Organisms) เกิดขึ้นในทุกส่วนของถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรน โดยพบในปริมาณมากในส่วนแอโรบิกมีปริมาณเท่ากับ 6.42 x 109, 3.35 x 109 และ 3.33 x 106 copies/gMLSS ตามลำดับ และยังพบว่าตัวกลางแบบท่อเอียงที่อยู่ในส่วนแอนแอโรบิกและส่วนแอนอกซิกสามารถกักเก็บจุลชีพไว้บนตัวกลางได้ น้ำที่ผ่านการบำบัดจากระบบบำบัดในงานวิจัยนี้มีความเหมาะสมกับการนำกลับมาใช้ใหม่ในกรณีที่ไม่มีการสัมผัสกับมนุษย์โดยตรงซึ่งต้องมี Cl2 ละลายน้ำ 1 มิลลิกรัม/ลิตร จึงจะสามารถนำมาใช้ในระบบทำความเย็นของอาคาร เติมคูคลองเพื่อเสริมสร้างภูมิทัศน์ และใช้รดน้ำต้นไม้
Other Abstract: This study investigated effects of sludge recirculation pattern and sludge age on biological nutrient removal by the two-stage inclined-tube membrane bioreactor for reuse of wastewater from high-rise buildings. The membrane bioreactor had organic loading rate 1.6 kg.COD/m3-day, hydraulic retention time 5.6 hour. The results revealed that sludge recirculation pattern can affect to COD and phosphorus removal efficiencies (different significantly at P < 0.05 level), but it doesn’t affect to nitrogen removal efficiencies, significantly. The Sludge age did not significantly change removal efficiencies of membrane bioreactor. By using sludge recirculation pattern type 2 with the sludge recirculation form aerobic to anoxic and sludge recirculation form anoxic to anaerobic, sludge age at 40 day could achieve COD, nitrogen and phosphorus removal efficiencies as high as 95%, 96% and 94%, respectively. This research also detected bacterial community containing AOB, Nitrospira and PAO in all parts of the membrane bioreactor. The population of AOB, Nitrospira and PAO, found in the aerobic tank were 6.42 x 109, 3.35 x 109 and 3.33 x 106 copies/gMLSS, respectively. Moreover, the anaerobic tank and anoxic tank could also entrap these microorganisms on the Inclined-tube. Treated water from the membrane bioreactor in this study were suitable for reuse (1 mg/l Cl2 residual) for cooling water, landscape and gardening purposes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50692
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570146321.pdf8.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.