Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50695
Title: | การเปรียบเทียบเส้นสีและความเร็วจากสารสนเทศการจราจรกับอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ |
Other Titles: | Comparison of traffic color and speed from traffic information and bluetooth device |
Authors: | ธนา โปธานนท์ |
Advisors: | สรวิศ นฤปิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sorwit.N@chula.ac.th,Sorawit.N@Chula.ac.th |
Subjects: | ระบบขนส่งอัจฉริยะ จราจร เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีบลูทูธ Intelligent transportation systems Communication and traffic Information technology Bluetooth technology |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สารสนเทศการจราจรเป็นประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ในการตัดสินใจการเดินทางที่เหมาะสม ในปัจจุบันมักใช้ข้อมูลจาก Probe เพื่อประมาณความเร็วของการจราจร และ สร้างเส้นสีจราจร รวมถึงบ่งบอกสภาพการติดขัดของการจราจร ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือของความถูกต้องระดับหนึ่ง สิ่งที่น่าสนใจคือ ต้องการวิธีที่จะตรวจสอบเปรียบเทียบความถูกต้องของสารสนเทศการจราจรที่ง่ายต่อการปฎิบัติ สามารถประเมินภาพโดยรวมของสารสนเทศการจราจรบนโครงข่ายถนนและตลอดช่วงเวลาได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการเปรียบเทียบความถูกต้องของสารสนเทศการจราจร คือ เส้นสีจราจรและความเร็ว กับข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ ซึ่งข้อมูลที่ผู้วิจัยใช้วิเคราะห์ได้มาจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information Center, iTIC) บริเวณถนนสาทร กรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลทั้งสิ้น 21 วัน กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องประกอบด้วยการจัดการข้อมูลที่จะนำมาทำเป็นสารสนเทศการจราจรที่มาจากข้อมูล Probe เทคนิคการรวมลิงก์ การจัดการข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ การจัดการกับ outlier การเปรียบเทียบความถูกต้องของสารสนเทศการจราจรมีทั้งหมดสามวิธี ได้แก่ การเปรียบเทียบผลลัพธ์เส้นสีจราจรโดยวิธีการใช้ตารางไขว้ (Cross tabulation) การเปรียบเทียบเส้นสีจราจรและความเร็วเทียบกับช่วงความเชื่อมั่นของความเร็วจากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ การเปรียบเทียบความเร็วโดยใช้วิธีค่าเฉลี่ยของค่าสัมบูรณ์ของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน (Mean Absolute Percentage Error, MAPE) ผลการเปรียบเทียบข้อมูลเมื่อเปรียบเทียบเส้นสีจราจรพบว่า สารสนเทศการจราจรมีความถูกต้อง 65 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาช่วงความเชื่อมั่นของความเร็วที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธจะทำให้ปฎิเสธเส้นสีจราจรที่ไม่ถูกต้อง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาค่าความเร็วการจราจรพบว่ามีค่าอยู่ในช่วงความเชื่อมั่นของความเร็วที่ 90 เปอร์เซ็นต์ มีสัดส่วนที่ 38 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบความเร็วการจราจร พบว่า ค่าเฉลี่ยของค่าสัมบูรณ์ของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนมีค่าเฉลี่ยรวม 45 เปอร์เซ็นต์ และ มีค่าที่สูงในช่วงเวลาที่รถแล่นช้า (ติดขัด) โดยผลจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ สร้างกระบวนการหรือวิธีที่สามารถใช้หาความถูกต้องของสารสนเทศการจราจรได้ |
Other Abstract: | Traffic information supports motorists for a better informed decision. At present, traffic information is built from vehicle probe data that estimate traffic speed and traffic color, which comes with a degree of accuracy. It is interesting to develop a method for measuring accuracy that is practical and can be used in a wider road network and time period. This research aims to propose a method to evaluate the accuracy of traffic information, traffic color and speed, by comparing it with traffic data from Bluetooth device. The 21-day Sathorn road traffic information data came from Intelligent Traffic Information Center (iTIC). The methodology included the manipulation of vehicle probe data, to combine sub-link data into comparable link data. The bluetooth data processing included the data cleansing to eliminate the outliers. Three methods of comparison were demonstrated: Cross tabulation of traffic color, Comparison of traffic color and traffic speed with confidence range of traffic data from bluetooth, and Mean Absolute Percentage of Error (MAPE) of speed. The results of comparison showed that traffic color was 65% accurate when comparing traffic color. The confidence range of traffic data indicated 20% of different traffic colors, and 38% of the same traffic speed. The speed comparison had 45% MAPE with the greatest difference taking place at low speed (congested) time period. The research showed that the proposed method could be applied to find the accuracy of traffic information. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50695 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1326 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1326 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570223021.pdf | 6.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.