Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50747
Title: ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมที่มีศิลปะเป็นสื่อต่อภาวะซึมเศร้าและความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสในชายรักชายผู้ติดเชื้อเอชไอวี
Other Titles: The effect of cognitive behavior group therapy with art as a medium on depressive symptoms and antiretroviral medical adherence in MSM with HIV infection
Authors: ภาณุ สหัสสานนท์
Advisors: กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
ณัฐสุดา เต้พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Kullaya.D@Chula.ac.th,Kullaya.D@chula.ac.th
Nattasuda.T@Chula.ac.th
Subjects: จิตบำบัดแบบความคิดปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
บุรุษที่ติดเชื้อเอชไอวี
Cognitive therapy
HIV-positive men
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมที่มีศิลปะเป็นสื่อต่อภาวะซึมเศร้าและระดับความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มตัวอย่างคือชายรักชาย (MSM) ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวีและอยู่ระหว่างการรับประทานยาต้านไวรัส จำนวน 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คนและกลุ่มควบคุม 23 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมสัปดาห์ละครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 8 ครั้ง คิดเป็นเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่างตอบชุดแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยแบบวัดระดับภาวะซึมเศร้า (CES-D) และแบบวัดระดับความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสแบบหลากหลายวิธี (VAS และ MMAS) ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำและระหว่างกลุ่ม โดยมีผลการวิจัยดังนี้ 1. กลุ่มทดลองมีคะแนนภาวะซึมเศร้าในช่วงหลังการเข้ากลุ่มต่ำกว่าช่วงก่อนการเข้ากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยในช่วงหลังการเข้ากลุ่ม กลุ่มทดลองมีคะแนนภาวะซึมเศร้าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. กลุ่มทดลองมีคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสสูงกว่าช่วงก่อนการเข้ากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .025 ในแบบวัด VAS แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของคะแนนในแบบวัด MMAS และไม่พบความแตกต่างของคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังการเข้ากลุ่มในทั้งสองแบบวัด
Other Abstract: This quasi-experimental research study was aimed to examine the effects of Cognitive Behavior Group Therapy (CBGT) with art as a medium on depressive symptoms and antiretroviral medical adherence in HIV infected individuals. Participants were 46 MSM (men who have sex with men) who were diagnosed with HIV infection and were taking antiretroviral medication at the time of study participation. Participants were assigned into an experimental or waitlist control group, 23 participants in each. Those in the experimental group participated in a weekly 2-hour CBT group for 8 weeks, amounting to a total of 16-hour group participation. Measures of depressive symptoms (CES-D) and antiretroviral medical adherences (VAS & MMAS) were administered at pre- and post-study participation. Data obtained were analyzed using repeated-measure and between-group MANOVAs. Findings were as follows:1) The experimental group’s scores on depressive symptoms were significantly lower at post-treatment than at pre-treatment (p < .01). At post-treatment, the scores of the experimental group were also significantly lower than those of the control group (p < .001). 2) The experimental group’s scores on antiretroviral medical adherence were significantly higher at post-treatment than at pre-treatment (p < .025) on the VAS. However, no changes were observed on the MMAS. Additionally, the post-treatment scores of the experimental and control groups were not significantly different on the two measures.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50747
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.815
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.815
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577624238.pdf7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.