Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50759
Title: นางฟ้าติดปีก: ทัศนคติในการประกอบอาชีพแอร์โฮสเตส วิถีการขัดเกลาขององค์การสายการบินราคาประหยัด และวัฒนธรรมอาชีพแอร์โฮสเตส
Other Titles: The Angels: Attitude on Taking an Air Hostess Career,Low-Cost Airlines Socialization Ways and Air Hostess Occupational Culture
Authors: กมเลศ ฤทธิ์เดชา
Advisors: สุมนทิพย์ จิตสว่าง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Sumonthip.C@Chula.ac.th,Sumonthip.C@Chula.ac.th
Subjects: สังคมประกิต
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน -- ทัศนคติ
การถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ
พฤติกรรมองค์การ
พนักงานสายการบิน -- ทัศนคติ
Socialization
Flight attendants -- Attitudes
Professional socialization
Organizational behavior
Airlines -- Employees -- Attitudes
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงทัศนคติในการประกอบอาชีพแอร์โฮสเตส วิถีการขัดเกลาขององค์การสายการบินราคาประหยัด และวัฒนธรรมอาชีพแอร์โฮสเตส โดยมีผู้วิจัยเป็นหนึ่งในผู้ประกอบอาชีพแอร์โฮสเตสและใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์บุคคลกลุ่มที่ศึกษาทั้งแบบไม่เป็นทางการ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติร่วมในเข้าสู่การประกอบอาชีพแอร์โฮสเตส คือ การรับรู้ว่าอาชีพนี้มีภาพลักษณ์ที่แสดงออกถึงความสวยงามของเพศหญิง รายได้ดี เป็นอาชีพที่คนในสังคมให้ค่าสูง รวมถึงการซึมซับอิทธิพลจากครอบครัวหรือคนรอบตัวที่ปฏิบัติงานในองค์การสายการบิน และจากการได้เข้ามาประกอบอาชีพเป็นระยะเวลานึง ได้ผ่านกระบวนการขัดเกลาขององค์การสายการบินราคาประหยัดนับตั้งแต่ขั้นตอนในการคัดเลือกแอร์โฮสเตสเข้าสู่องค์การ การจัดหลักสูตรอบรมขั้นพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพแอร์โฮสเตส การทดลองปฏิบัติงาน การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมในองค์การและผู้โดยสาร สิ่งเหล่านี้ได้หล่อหลอมและขัดเกลาให้แอร์โฮสเตสเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของการปฏิบัติงานบนเครื่องบินอย่างยิ่งยวด นอกจากนี้วิถีการขัดเกลาขององค์การสายการบินได้ส่งผลให้เกิดการประกอบสร้างวัฒนธรรมอาชีพของแอร์โฮสเตสขึ้นมา อันได้แก่ ความเชื่อ, ค่านิยม, ความรู้, ภาษา, กฎระเบียบ จริยธรรม, อุปนิสัย รูปแบบพฤติกรรม และแนวความคิดที่แอร์โฮสเตสในองค์การสายการบินราคาประหยัดมีร่วมกัน แอร์โฮสเตสไม่ได้รู้สึกเพียงว่าอาชีพนี้เป็นเพียงงานหรือหน้าที่ แต่คือส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต จึงทำให้แอร์โฮสเตสที่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์การปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ นอกจากนี้วัฒนธรรมอาชีพแอร์โฮสเตสยังสามารถแพร่กระจายออกไปได้ในหมู่สมาชิกโดยมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการขัดเกลาขององค์การสายการบินราคาประหยัดที่เปรียบเสมือนเป็นหลักที่ยึดแอร์โฮสเตสในองค์การสายการบินราคาประหยัดให้กลมเกลียว กระนั้นวัฒนธรรมอาชีพแอร์โฮสเตสย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาดังวัฒนธรรมที่สามารถเปลี่ยนไปตามยุคสมัยไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
Other Abstract: The purpose of this study is to examine the attitude on taking an air hostess career, low-cost airlines socialization ways and air hostess occupational culture. The study employed three qualitative methodologies, namely, participant observation, informal interviews, and in-depth interviews. The result showed that the attitude on taking an air hostess career involved the attraction of having good-looking female identity, high salary, being able to obtain popular career, and coming from family and work-related people around them within different airline organizations. After entering into this career, the process of airlines socialization ways begins with trainings, having relations with the coworkers and having interaction with passengers in their daily lives. All of these interaction have made the airhostesses realize how important their duty is in order to provide passengers with safety and security. Furthermore, the study also showed that air hostess occupational culture consisted of their work-related beliefs, values, knowledge, language, rules and regulations, morals, habits, ways of thinking, and behavior patterns. For example, they need to maintain their body to look good which have caused them to spend most of their free time going to the fitness center, keep up with beauty products and fashionable trends. Therefore, their beliefs, values, rules and regulations, and ways of thinking, that relate to this career also tied closely to their after work activities. Each of elements mentioned in air hostess occupational culture then become a part of their life. As a result of this, the new comers and people outside of this career would see that the air hostesses have these prototype as commonalities, which later attract new comers to this career. Nevertheless, as culture is not static, occupational culture also changes through time and generation.
Description: วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: มานุษยวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50759
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.799
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.799
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580601124.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.