Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50765
Title: | นโยบายราคาข้าว: การศึกษาในด้านการเมืองของกระบวนการและเครือข่ายนโยบาย |
Other Titles: | Rice price policy : a study in politics of policy process and network |
Authors: | ขนิษฐา สุขสง |
Advisors: | อนุสรณ์ ลิ่มมณี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Anusorn.L@Chula.ac.th,anusorn.l@chula.ac.th |
Subjects: | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ข้าว -- นโยบายของรัฐ -- ไทย ข้าว -- การค้า -- นโยบายของรัฐ -- ไทย Rice -- Government policy -- Thailand Rice trade -- Government policy -- Thailand |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์กระบวนการกำหนดนโยบายราคาข้าวและเครือข่ายนโยบายข้าว ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายราคาข้าว และปัจจัยที่ทำให้นโยบายราคาข้าวของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีแนวนโยบายราคาข้าวที่แตกต่างกัน รวมไปถึงวิเคราะห์ถึงผลจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายราคาข้าวของทั้งสองรัฐบาลที่มีต่อเครือข่ายนโยบายข้าว การปรับเปลี่ยนเครือข่ายนโยบาย และตัวแสดงภายในเครือข่ายนโยบาย ผลการศึกษาพบว่า บริบททางการเมืองเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการในการกำหนดนโยบายราคาข้าว และการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างความสัมพันธ์ภายในเครือข่ายนโยบายมากกว่าปัจจัยด้านบริบทของตลาดข้าวทั้งภายในประเทศและบริบทของตลาดข้าวโลก เนื่องจากบริบททางการเมืองสัมพันธ์ต่ออำนาจของตัวแสดงทางการเมืองที่จะเข้าไปมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเครือข่ายนโยบายและการคัดเลือกตัวแสดงที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในเครือข่ายนโยบาย รวมไปถึงการกำหนดบทบาทและอำนาจของตัวแสดงที่อยู่ภายในเครือข่ายนโยบาย ด้านปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์เปลี่ยนแปลงนโยบายเกิดจากสองปัจจัย คือ ปัจจัยจากปัญหาการดำเนินนโยบายในรัฐบาลที่ผ่านมา และปัญหาการเมืองภายในพรรคร่วมรัฐบาลจากประเด็นการระบายข้าว ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงนโยบายในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เกิดจากปัจจัยทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งปี 2554 ที่รัฐบาลใช้นโยบายราคาข้าวในการหาเสียง ซึ่งจากปัจจัยด้านกระบวนการและเครือข่ายนโยบาย และปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสองรัฐบาลที่แตกต่างกัน ได้ส่งผลให้ทั้งสองรัฐบาลมีการกำหนดนโยบายราคาข้าวที่แตกต่างกัน และส่งผลกระทบต่อตัวแสดงในตลาดข้าวที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย โดยในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ กลุ่มผู้ส่งออกข้าว และกลุ่มเกษตรกรรายย่อย เป็นกลุ่มตัวแสดงที่ได้รับประโยชน์ ในขณะที่กลุ่มโรงสี และกลุ่มเกษตรกรที่เคยเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลก่อน เป็นกลุ่มที่เสียประโยชน์ ส่วนในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กลุ่มโรงสีและเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ และกลุ่มผู้ส่งออกข้าว พ่อค้าคนกลาง โรงสี และเกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการเป็นกลุ่มที่เสียประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย |
Other Abstract: | This thesis aims to analyze the process and network of rice price policy, the factors which affect the change of the policy, and the policy differences between the Abhisit and Yingluck governments, including the impacts of their policy on the existing network of rice policy, the self-adjustments of the network, and its actors. It is found in this study that the process of rice price policy and the change in the structure of relationship within the policy network are far more influenced by their political contexts than by the domestic and global rice markets, since political contexts pose significant effects on the change of political actors and the subsequent shift of structure and actors in the policy network. Regarding the causes of policy change, the change of rice policy in Abhisit government results mainly from two factors- the previous government' s policy implementation and its failure in rice sale, While in Yingluck administration it is attritable to the policy platform in the electoral campaign. The differences in the policy process and network between the two governments have substantial effects on various actors in the rice market. Under Abhisit administration, the policy change benefits rice exporters small farmers at the expense of rice millers and big farmers, whereas under Yingluck administration it benefits rice millers and farmers at the expense of rice exporters, middlemen and non-participative farmers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | รัฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50765 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.809 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.809 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5581202624.pdf | 4.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.