Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50815
Title: การพัฒนาการจัดการสินค้าคงคลังโดยใช้วิธีการเลือกสรรรายการสินค้าที่เหมาะสม : กรณีศึกษา สินค้าชุดผ้าปูที่นอน
Other Titles: Improving inventory management through efficient product assortment : a case study of bed-sheet product
Authors: สุนิษา ชตะเสวี
Advisors: สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sompong.Si@chula.ac.th,sompong.si@chula.ac.th
Subjects: สินค้าคงคลัง
การควบคุมสินค้าคงคลัง
Inventories
Inventory control
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือการพัฒนาการบริหารจัดการสินค้าคงคลังโดยใช้เทคนิคการเลือกสรรรายการสินค้าที่มีประสิทธิภาพ การศึกษามุ่งเน้นเฉพาะสินค้าชุดผ้าปูที่นอนของบริษัทกรณีศึกษา ในการตัดสินใจเลือกสรรรายการสินค้าที่เหมาะสมสำหรับหมวดหมู่สินค้ากรณีศึกษา ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการสินค้าคงคลังและกระบวนการควบคุม รายงานยอดขาย ผลการดำเนินงานและปัญหาที่พบในปัจจุบัน วิธีการศึกษาเริ่มจากการกำหนดการมีสัดส่วนในตลาด โดยรายการสินค้าที่มียอดขายสะสมจนถึงร้อยละ 80 ของผลประกอบการจะถูกเก็บรายการสินค้าไว้ ส่วนรายการที่เหลือจะถูกตัดรายการสินค้าออกและอาจจะมีการพิจารณาต่อไป โดยฝ่ายการตลาดและผู้จัดการฝ่ายขาย เมื่อเทียบผลการเลือกสรรรายการสินค้าในปัจจุบัน พบว่า มีการลดจำนวนรายการสินค้าคงคลังลงร้อยละ 12 ในขณะที่อัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังเฉลี่ย อัตราผลตอบแทนกำไรจากการลงทุนเฉลี่ยและกำไรโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 48, 38 และ 2 ตามลำดับ
Other Abstract: The objective of this research is to improve inventory management by using the efficient assortment technique. The study focuses only on bed sheet set products of a case company. In determining the optimal assortment for the case product category, the study collects data on current inventory management and control process, historical sales, operation performance, and problems encountered. The study employs the market coverage method by first sorting the product items in the descending order of sales amount. The items that command a cumulative sales of the desired 80% of the turnover will be kept while the remaining items are candidates for removals and are subject to further considerations by the marketing and sales managers. Compared to current assortment, the proposed assortment will likely reduce the number of stocked items by 12% while increase average inventory turnover, average GMROI, and average profit by 48%, 38%, and 2% respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50815
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1362
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1362
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5587632920.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.