Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50869
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
Other Titles: Prevalence and related factors of stress among grade 12 students in Burirampittayakhom School
Authors: ชนิกานต์ ขำเหมือน
Advisors: อานนท์ วรยิ่งยง
วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Arnond.V@Chula.ac.th,arnondvorayingyong@gmail.com,fmedtrc@yahoo.com
Vitool.L@Chula.ac.th,vitool@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด รวมไปถึงวิธีการจัดการความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558 โดยทำการศึกษาในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน จำนวน 657 คน โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบทดสอบความเครียดสวนปรุง แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด และแบบสอบถามวิธีการจัดการความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการแจกแจงความถี่และร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดโดยใช้ Multiple logistic regression จากผลการศึกษาพบว่า มีผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 586 คน คิดเป็นอัตราการตอบกลับ ร้อยละ 89.2 พบความชุกของความเครียดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับร้อยละ 51.7 สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ได้แก่ การมีโรคประจำตัว (p=0.034) เงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวไม่เพียงพอ (p<0.001) ต้องช่วยผู้ปกครองทำงานบ้าน (p=0.027) ผู้ปกครองคาดหวังว่านักเรียนจะสามารถหางานที่มีรายได้ดีได้ (p<0.001) งานในวิชาต่างๆ มีมากเกินไป (p=0.044) มีเวลาทบทวนบทเรียนน้อยเกินไปในการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย (p<0.001) โรงเรียนให้การแนะแนวเกี่ยวกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยยังไม่เพียงพอ (p=0.022) และรู้สึกว่าครูปฏิบัติต่อนักเรียนแต่ละคนไม่เสมอภาคกัน (p=0.007) สำหรับวิธีการจัดการความเครียด พบว่านักเรียนกลุ่มที่มีความเครียดมีแนวโน้มที่จะเลือกใช้วิธีที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้องไห้ เก็บไว้คนเดียวไม่พูดกับใคร ระบายอารมณ์ใส่สิ่งของหรือผู้อื่น ระบายอารมณ์โดยการกรีดร้อง/ตะโกน กินยาระงับประสาท/ยานอนหลับ จากผลการศึกษานี้จึงสรุปได้ว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความชุกของความเครียดที่สูง ซึ่งถือเป็นปัญหาที่สำคัญ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยมีการให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกใช้วิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสม มีบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความเครียด รวมไปถึงมีระบบการส่งต่อไปยังหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ซึ่งน่าจะช่วยลดและป้องกันการเกิดความเครียดได้
Other Abstract: This cross-sectional study aimed to determine the prevalence and related factors of stress among 657 grade 12 students in Burirampittayakhom School. Data were collected from August to September 2015 through questionnaires consisting of demographic data, Suanprung Stress Test-20, stress-related factors, and coping strategies. The data were analyzed using descriptive statistics: frequency, percentage, mean and standard deviation. Multiple logistic regression was used to examine the relationship between stress and related factors. The results showed that 586 (89.2%) of the students completed the study. The prevalence of stress among grade 12 students was 51.7%. Factors significantly related to stress included underlying diseases (p=0.034), inadequate expenses (p<0.001), household work (p=0.027), parents’ expectations for getting high-income jobs (p<0.001), too many assignments (p=0.044), lack of revision time (p<0.001), lack of guidance about university admission (p=0.022), and feelings of unfair treatment from teachers (p=0.007). Regarding coping strategies, the students who experienced stress tended to use inappropriate strategies such as crying, self-isolation, emotional ventilation, shouting, and using sedative drugs/sleeping pills. In conclusion, the prevalence of stress among this population was found to be high, which could be a cause for concern. It is necessary to develop an effective system to help these students. Moreover, schools should provide knowledge about appropriate stress management, implement stress counseling services and prepare a system of referrals to relevant healthcare agencies. All of these actions may help to reduce and prevent stress.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50869
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674020730.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.