Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51016
Title: | ความต้องการที่อยู่อาศัยของพนักงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Housing demand for staff of Chulalongkorn University |
Authors: | เจษฎา โล่ห์พิมานชัยฤทธิ์ |
Advisors: | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Trirat.J@Chula.ac.th,trirat13@gmail.com |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- พนักงาน บุคลากรทางการศึกษา ที่อยู่อาศัย Chulalongkorn University Dwellings Housing |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพนักงานจำนวนทั้งสิ้น 7,906 คน ซึ่งได้มีการจำแนกพนักงานมหาวิทยาลัยออกเป็น 2 ประเภท คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ จำนวน 2,833 คน และ 5,073 คน ตามลำดับ โดยมหาวิทยาลัยได้มีการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน โดยมีจำนวนที่รองรับได้คือ 1,040 คน โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.15 ซึ่งเห็นได้ว่า จำนวนที่อยู่อาศัยยังมีจำนวนที่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนพนักงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการดำเนินการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความต้องการที่อยู่อาศัยและรูปแบบของที่อยู่อาศัยที่ตรงกับความต้องการของพนักงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมไปถึงศึกษารูปแบบของที่อยู่อาศัยและปัญหาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันของพนักงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปตามคณะและหน่วยงานต่างๆ จำนวน 7,442 คน โดย ซึ่งได้รับตอบกลับแบบสอบถามจำนวน 2,408 ชุด คิดเป็นร้อยละ 32.36 และผู้วิจัยได้เลือกแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด จากแบบสอบถามที่ตอบกลับ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า พนักงานสายวิชาการส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยแล้ว แตกต่างจากพนักงานสายปฏิบัติการที่ยังคงอาศัยอยู่ร่วมกับคนในครอบครัว เช่น บิดา มารดา หรือญาติพี่น้อง โดยรูปแบบของที่อยู่อาศัยเป็นลักษณะบ้านเดี่ยว – บ้านแฝด โดยพนักงานสายวิชาการมีที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพชั้นใน ซึ่งมีความสะดวกในการเดินทาง ใช้รถส่วนตัวในการเดินทางมาทำงาน ส่วนพนักงานสายปฏิบัติการมีที่อยู่อาศัยในเขตปริมณฑลนอกเมือง เน้นการเดินทางโดยรถสาธารณะ เช่น รถโดยสารประจำทาง หรือ รถตู้ประจำทาง โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาทำงานวันละ 100 - 200 บาท ในการศึกษาความต้องการที่อยู่อาศัยพบว่า ในภาพรวมพนักงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีความต้องการที่อยู่อาศัย จำนวน 266 คน คิดเป็นร้อยละ 66.5 โดยสาเหตุที่ต้องการที่อยู่อาศัยนั้น ส่วนใหญ่ต้องการอยู่ใกล้สถานที่ทำงานรวมไปถึงต้องการความสะดวกสบายในการเดินทางมาปฏิบัติงาน ซึ่งรูปแบบของที่อยู่อาศัยที่ต้องการของพนักงานทั้งสองสายงานมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ พนักงานสายวิชาการมีความต้องการที่อยู่อาศัยในรูปแบบที่อยู่อาศัยลักษณะอาคารพักอาศัยเช่าระยะยาวราคาใกล้เคียงราคาตลาดโดย ส่วนพนักงานสายปฏิบัติการมีความต้องการที่อยู่อาศัยในรูปแบบการเช่าระยะสั้นรายเดือน ลักษณะแฟลต |
Other Abstract: | Chulalongkorn University have a staff of 7,906 people, divided into two categories: comprising academic staff and operation staff of 2,833 and 5,073 people respectively. The university has arranged for housing, welfare facilities for staff. This number stands at up to 1,040 people, a 13.15 percent proportion. The compared number of housing and staff is quite meagre. This research aims to study the demand for housing and the style of housing appropriate for Chulalongkorn University staff. To study the type of housing and housing problems of Chulalongkorn University staff, questionnaires were distributed to the faculties and departments totalling 7,442 people, of which 2,408 (32.36 percent) replied. Of this number 400 people were selected from the questionnaire responses. The study concluded that the academic staff are the majority owning housing and the operating staff mostly live with their families. The type of housing is detached house and semi-detached house. Academic staff live in central Bangkok as it is convenient for getting out and using their private cars to travel to work. The operation staff live in suburban areas outside the city and use public transport such as buses or public vans. The cost of going to work is around 100-200 baht per day. The study concluded that university staff as a whole constitute most of the demand for housing at 266 people (66.50 percent). The main reason for housing is want to live near the workplace and the convenience of traveling to work. The type of the housing needs of each category staff are different, i.e. academic staff need housing at a leasehold residential building rental price close to the market price. The operation staff need housing at a flat short-term monthly rental fee. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51016 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.524 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.524 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5773556725.pdf | 11.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.