Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51167
Title: การวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในแบบสอบที่มีการตรวจให้คะแนนแบบทวิวิภาค ระหว่างวิธีการถดถอยโลจิสติก วิธีซิปเทสท์และวิธีราสช์ทรี
Other Titles: A comparative analysis of the efficiency of differential item functioning detection in dichotomously scored items among logistic regression, sibtest and raschtree methods
Authors: สุภะ อภิญญาภิบาล
Advisors: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nuttaporn.L@Chula.ac.th,Nuttaporn.L@Chula.ac.th
Sirichai.K@Chula.ac.th
Subjects: ข้อสอบ
การวัดผลทางการศึกษา
การวิเคราะห์การถดถอย
Educational tests and measurements
Regression analysis
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบและอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสำหรับแบบสอบที่มีการตรวจให้คะแนนแบบทวิวิภาค ระหว่างวิธีการถดถอยโลจิสติก วิธีซิปเทสท์ และวิธีราสช์ทรี โดยการทดสอบระดับนัยสำคัญและการวัดขนาดอิทธิพล ข้อมูลที่ใช้ศึกษาจำลองภายใต้ทฤษฏีการตอบสนองข้อสอบ โมเดล 1 พารามิเตอร์ แล้วจัดกระทำข้อมูลตามปัจจัย 4 ปัจจัย คือ (1) ค่าความยากของข้อสอบ 3 ระดับ (2) ความยาวของแบบสอบ 2 ขนาด (3) สัดส่วนของข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกัน 2 ขนาด และ (4) ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 3 ขนาด รวมข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 36 เงื่อนไข ในแต่ละเงื่อนไขจำลองซ้ำ 50 ครั้ง และข้อมูลเชิงประจักษ์ศึกษาการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบตามตัวแปร 3 ตัว คือ เพศ สังกัดของโรงเรียน และภูมิภาค แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการถดถอยโลจิสติก วิธีซิปเทสท์ และวิธีราสช์ทรี ในการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบทั้งหมด ใช้ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อำนาจการทดสอบในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ โดยการทดสอบระดับนัยสำคัญของวิธีซิปเทสท์มีค่าสูงกว่าวิธีการถดถอยโลจิสติกและวิธีราสช์ทรีภายใต้เกือบทุกเงื่อนไข และอำนาจการทดสอบของวิธีราสช์ทรีมีค่าสูงกว่าวิธีการถดถอยโลจิสติกภายใต้เกือบทุกเงื่อนไข ส่วนอำนาจการทดสอบในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ โดยการวัดขนาดอิทธิพลของวิธีซิปเทสท์มีค่าสูงกว่าวิธีการถดถอยโลจิสติกภายใต้เกือบทุกเงื่อนไข 2. อัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ โดยการทดสอบระดับนัยสำคัญของวิธีราสช์ทรีมีค่าต่ำกว่าวิธีการถดถอยโลจิสติกและวิธีซิปเทสท์ภายใต้เกือบทุกเงื่อนไข และอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ของวิธีซิปเทสท์มีค่าต่ำกว่าวิธีการถดถอยโลจิสติกภายใต้เกือบทุกเงื่อนไข ส่วนอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ โดยการวัดขนาดอิทธิพลของวิธีการถดถอยโลจิสติกมีค่าต่ำกว่าวิธีซิปเทสท์ภายใต้เกือบทุกเงื่อนไข 3. ผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสำหรับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยวิธีราสช์ทรีมีอำนาจการทดสอบสูงกว่าวิธีการถดถอยโลจิสติกและวิธีซิปเทสท์ แต่มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ที่ระดับ 10%
Other Abstract: The objectives of this study were to compare power rate and Type I error rate of differential item functioning (DIF) with dichotomously scored items among Logistic Regression, SIBTEST and Raschtree methods by significance tests and effect size measures. In this study, the data were simulated under the IRT theory of one-parameter item response, simulating dichotomous response under the condition of 4 factors which were (1) difficulty of 3-level items (2) 2-size test length (3) proportion of 2-size DIF and (4) 3-size sample size. The total studied data were 36 conditions each of which was replicated 50 times. The empirical data were used to study DIF in 3 factors: sex, stratum and region. The data were analyzed by Logistic Regression, SIBTEST and Raschtree methods. The significance level of .05 was applied in all DIF analyses. Results of the research were the following: 1. The power rate of SIBTEST method in detecting differential item functioning by significance tests was higher than Logistic Regression and Raschtree methods under almost all conditions and the power rate of Raschtree method was higher than Logistic Regression method under almost all conditions. The power rate of SIBTEST method in detecting differential item functioning by effect size measures was higher than Logistic Regression method under almost all conditions. 2. Type I error rate of Raschtree method in detecting differential item functioning by significance tests was lower than Logistic Regression and SIBTEST methods under almost all conditions and type I error rate of SIBTEST method was lower than Logistic Regression method under almost all conditions. Type I error rate of Logistic Regression method in detecting differential item functioning by effect size measures was lower than SIBTEST method under almost all conditions. 3. The detection result of DIF in empirical data of the power rate of Raschtree method was higher than Logistic Regression and SIBTEST methods, but Type I error rate was higher than the criterion which was set at 10% level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51167
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1155
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1155
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384474327.pdf10.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.