Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51224
Title: พระนามเจ้านายสมัยรัตนโกสินทร์: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมไทย
Other Titles: Names of royalty in the Rattanakosin Period : a study of the relationship between Thai language and culture
Authors: ดนัย พลอยพลาย
Advisors: ศิริพร ภักดีผาสุข
ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Siriporn.Ph@Chula.ac.th,Siriporn.Ph@Chula.ac.th
Prapod.A@Chula.ac.th
Subjects: กษัตริย์และผู้ครองนคร -- ไทย
ราชินี -- ไทย
เจ้าชาย -- ไทย
เจ้าหญิง -- ไทย
ราชสกุล -- ไทย
นาม
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325-
Kings and rulers -- Thailand
Queens -- Thailand
Princes -- Thailand
Princesses -- Thailand
Royal houses -- Thailand
Names, Personal
Thailand -- History -- Rattanakosin period
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระนามเจ้านายสมัยรัตนโกสินทร์มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากชื่อของสามัญชน อีกทั้งมีความสัมพันธ์กับปริบทสังคมวัฒนธรรมไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาในการขนานพระนามและการเฉลิมพระนามเจ้านายสมัยรัตนโกสินทร์ และศึกษาความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และวิวัฒนาการในการขนานพระนามและการเฉลิมพระนามเจ้านายสมัยรัตนโกสินทร์ ข้อมูลที่ใช้ศึกษารวบรวมจากรายพระนามทางการของเจ้านายรวมทั้งสิ้น 1,932 พระนาม จากการศึกษาพบความรู้เกี่ยวแก่พระนามเจ้านายที่สำคัญมี 4 ประการ ประการแรก พระนามเจ้านายมี 2 ประเภท ได้แก่ พระนามเดิมเป็นพระนามที่ได้มาแต่ประสูติ และพระนามเมื่อได้รับการเฉลิมพระยศเพิ่มขึ้น ประการที่สอง พระนามมีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนพระนามเป็นส่วนหลัก และส่วนสร้อยพระนามเป็น ส่วนเสริมสำหรับเจ้านายที่ทรงดำรงพระยศสูงและสำคัญ ประการที่สาม องค์ประกอบร่วมของพระนามมี 4 อย่าง ได้แก่ คำบอกชั้นยศ คำนำพระนาม คำบอกตำแหน่ง และนามราชสกุล องค์ประกอบร่วมเหล่านี้ใช้แสดง ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ และเชื้อสายของเจ้านายเป็นสำคัญ ประการที่สี่ ปัจจัยที่มีผลต่อการขนานพระนามและการเฉลิมพระนาม ได้แก่ สกุลยศ เพศ วันและเวลาประสูติ อิสริยศอิสริยศักดิ์ อาวุโส และสถานะทางศาสนา กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการขนานพระนามและการเฉลิมพระนามเจ้านายมีทั้งสิ้น 4 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำศัพท์ การอ้างอิงนามบุคคลและนามเมือง การส่งสัมผัสคล้องจอง และการใช้รูปอักษร กลวิธีเหล่านี้ใช้แสดงสถานะและคุณลักษณะของเจ้านาย ความสัมพันธ์ของเจ้านายกับราชสกุล ความแตกต่างระหว่างเพศสภาวะ และ การอำนวยสิริมงคล พระนามเจ้านายสะท้อนความคิด ความเชื่อ และค่านิยมที่สำคัญ 6 ประการ ได้แก่ ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ การจัดลำดับชั้นของบุคคลในสังคม สังคมแบบเครือญาติ สถานะและบทบาทของบุคคล ต่างเพศสภาวะ ความคิดความเชื่อทางศาสนา และลักษณะสำคัญของอาณาจักร พระนามเจ้านายมีวัฒนาการไปตามปริบทสังคมวัฒนธรรมไทยที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การฟื้นฟูบ้านเมืองสมัยรัชกาลที่ 1 การแสดงสิทธิธรรม ทางการปกครองของพระมหากษัตริย์และการสืบราชสันตติวงศ์ การเข้ามาและอิทธิพลของชาติตะวันตก การสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองกับชนชั้นนำ และการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
Other Abstract: Names of royalty in the Rattanakosin Period have remarkable features which are distinct from those of commoners and are interrelated to Thai socio-cultural contexts. This study examines 1,932 official names of royalty in the Rattanakosin Period, by focusing on two aspects: 1) linguistic devices adopted in naming practices; and 2) thoughts, beliefs, values, and development of naming practice as reflected from the names. As for the characteristics of names of royalty, first, names of royalty can be categorized into two types. The first one is names originally given to the royalty at birth and the other one is those conferred in an occasion of ranking promotion. Second, names of royalty consist of two components: names and subnames, which are an extra component given to those of higher and distinguished ranks. Third, there are four supplementary elements to be used together with names of royalty to indicate ranks of nobility, the relationship between the name owners and the king, and the lineage of royalty. Lastly, the crucial factors influencing naming practice include birth ranks, gender, date and time of birth, conferred ranks, seniority, and religious status. In terms of linguistic devices, it is found that four strategies are mainly adopted in naming practice namely lexical choice selection, making reference to other elites’ names and/or city names, using rhymes, and using auspicious alphabet. These devices are adopted in order to indicate the status and characteristics of the royalty, the relationship between each individual and her or his royal family, and gender. Some devices are for the sake of auspiciousness. The analysis of names of royalty reflects six important underlying ideas namely the significance of the monarchy, social stratification, kinship based society, social expectation on gender role, religious beliefs, and distinctive character of the Kingdom. The development of naming practice is interrelated with five remarkable features of Thai socio-cultural context, namely the restoration of Thailand under King Rama I, line of royal succession, the impact of western colonialism, the establishment of political connection between the kings and elites, and the Revolution of 1932.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51224
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.552
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.552
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580129322.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.