Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51332
Title: การศึกษาสภาพการอยู่อาศัยและปัญหาการอยู่อาศัยภายในอาคารสวัสดิการชั้นประทวน กองบัญชาการกองทัพไทย กรณีศึกษา : พื้นที่ทุ่งสีกัน
Other Titles: LIVING CONDITIONS AND PROBLEMS IN WELFARE HOUSING PROVIDED FOR THE NONCOMMISSIONED BY THE ROYAL THAI ARMED FORCES HEADQUARTERS: A CASE STUDY OF TUNG SI KAN HOUSING PROJECT
Authors: คัทลียา รุ่งเรือง
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya.P@Chula.ac.th,Kpanitchpakdi@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กองบัญชาการกองทัพไทยมีนโยบายการจัดสวัสดิการเคหะสงเคราะห์ และดำเนินการสร้างอาคารสวัสดิการพักอาศัยโดยใช้แบบมาตรฐานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 ใช้ในการก่อสร้างไปแล้ว 5,459 หน่วย โดยส่วนใหญ่เป็นที่พักนายทหารชั้นประทวน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการอยู่อาศัย การใช้พื้นที่ และปัญหาในการใช้พื้นที่ เพื่อนำไปสู่แนวทางในการพัฒนาแบบมาตรฐาน โดยศึกษาด้วยการทบทวนวรรณกรรมและมาตรฐานที่อยู่อาศัย การสำรวจและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้พักอาศัยในโครงการสวัสดิการพักอาศัยพื้นที่ทุ่งสีกัน จากกลุ่มตัวอย่างชั้นประทวน 100 ตัวอย่าง ผลจากการศึกษาพบว่าแบบมาตรฐานมีหน่วยพักอาศัยแบบเดียวมีพื้นที่รวม 51 ตร.ม.มี 2 ห้องนอน 1 ห้องโถง 1 ห้องน้ำ 1ห้องครัว มีความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดาน 2.7 ม. มีผู้พักอาศัยมีขนาดครัวเรือน 1-2 คน(A) จำนวน ร้อยละ 39, ขนาด 3-4 คน(B) ร้อยละ 42 และ 5 คนขึ้นไป(C) ร้อยละ 19 โดยผลการสำรวจสอดคล้องกับผลจากการสัมภาษณ์ ดังนี้ (1)ในภาพรวมของหน่วยพักอาศัย พบว่า สำหรับครัวเรือน (A) และ (B) หน่วยพักอาศัยมีพื้นที่เกินความจำเป็นในการใช้สอย ครัวเรือน A ร้อยละ 95 และ B ร้อยละ 52 เห็นว่าขนาดของหน่วยพักอาศัยกว้างขวาง ส่วนครัวเรือน (C) ร้อยละ 58 เห็นว่า พื้นที่ไม่เพียงพอ คับแคบ (2)ห้องโถงเอนกประสงค์ ครัวเรือน (A) และ (B) เห็นว่ามีขนาดที่เพียงพอ (ร้อยละ 77 และ 60) ครัวเรือน (C) ร้อยละ 53 เห็นว่าขนาดไม่เพียงพอและมีการใช้พื้นที่ห้องโถงเป็นที่นอน (3)ห้องนอน 1 ครัวเรือน (A) และ (B) เห็นว่ามีขนาดเพียงพอ มีที่ตั้งเหมาะสม ส่วนครัวเรือน (C) ร้อยละ 63 เห็นว่าคับแคบ (3)ห้องนอน 2 ครัวเรือน (A) และ (B) เห็นว่ามีขนาดเพียงพอ ร้อยละ 63 โดยสองกลุ่มนี้ได้ใช้ห้องนอน 2 เป็นที่สะสมของที่ไม่ได้ใช้ ส่วนครัวเรือน (C) เห็นว่าขนาดห้องนอนไม่เพียงพอ (4)ห้องน้ำพบว่าทั้ง 3 ครัวเรือนเห็นว่าขนาดไม่เพียงพอ แสงสว่างไม่เพียงพอ ไม่มีช่องระบายอากาศ ไม่มีส่วนแยกเปียก-แห้ง (5)ห้องครัว ทั้ง 3 ครัวเรือนเห็นว่ามีขนาดไม่เพียงพอ ที่ตั้งที่ไม่เหมาะสม การระบายอากาศไม่ดี (6) ส่วนตากผ้า ทั้ง 3 ครัวเรือน เห็นว่าที่ตั้งเหมาะสม รับลมและแสงแดดได้ดีแต่มีปัญหาน้ำหยดใส่เสื้อผ้า (7)ทั้ง 3 ครัวเรือน มีการใช้ห้องนอน, ห้องครัวและทางเดินร่วมเป็นที่เก็บของที่ไม่ได้ใช้เป็นจำนวนมากอย่างไม่เป็นระเบียบ (8)ทั้ง 3 ครัวเรือนไม่มีพื้นที่ซักล้าง ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาแบบมาตรฐานฯ คือ ควรมีหน่วยพักอาศัยเป็น 2 ขนาด แบบ 51.84 ตร.ม. เป็น 2 ห้องนอน สำหรับครัวเรือน ครัวเรือน (A) และ (B) (2) สำหรับครัวเรือน (C) เพิ่มขนาดหน่วยพักอาศัยเป็น 64.8 ตร.ม. 3 ห้องนอน โดยทั้งสองขนาดอาจปรับช่วงเสาเป็น 3.6x3.6 เมตร เพื่อให้ความกว้างเพิ่มมากขึ้นและความลึกลดลง ทุกหน่วยขยายพื้นที่ห้องครัว ห้องน้ำ แยกส่วนเปียก-แห้ง เพิ่มพื้นที่ซักล้าง ทำตู้เก็บของและเพิ่มระเบียงหลัง ในส่วนของนโยบาย (1) การจัดทำ 5ส ลดการเก็บของ (2) การสำรวจผู้พักอาศัยทุกปี จัดสวัสดิการที่พักอาศัยให้สอดคล้องกับลักษณะครัวเรือน และ(3)การบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับการอยู่อาศัยอย่างเคร่งครัด
Other Abstract: One of the missions of the Royal Thai Armed Forces Headquarters is to provide welfare housing for its staff since 1967; as a result, the construction of 5.459 housing units was carried out according to its standard housing plan. Most of them are for the noncommissioned. The standard plan has been used for more than 30 years. This study, aimed to explore and analyze the living conditions, the use of functional areas and its problems so the findings can be used as guidelines for developing a standardized housing development plan. One hundred occupants living in Tung Si Kan Housing Project were observed and interviewed by using a structured questionnaire. It was found that there was only one standard housing unit plan which the area is 51 square meters with two bedrooms, one kitchen, one bathroom and a multipurpose room. The height was 2.7 meters. The number of residents ranged from 1–2persons (A, 39%), 3–4 persons (B, 42%), 5persons and more (C, 19%). According to both the surveys and the interviews, 1) 95% of A families and 52% of B families agreed that there were more functional areas than the actual needs. While 58% of the large (C) families said that it was too small. 2) The multipurpose hall: The 77% of A and 60% of B families agreed that the area was enough, but the C families (53%) said that it was not and they used it as a bedroom as well. 3) The second bedroom: the A and B families agreed that it was big enough and used it as a storage room, while the C families (63%) stated that it was too small. 4) All three families groups agreed that the bathroom was too small and the wet and dry sections were not separated. 5) the kitchen was too small. 6) They all complained that there was not enough space for storing items, some of which were not regularly used. 7) the area for washing was not provided. The suggestions for design a Standard housing unit plan are: there should be 2 size of housing units. The 51.84 sq.m. with 2 bedrooms for the A and B families and the 64.8 sq.m. with 3 bedrooms for the C families. The span of column may be changed into 3.6*3.6 m. so the unit will be wider and the depth of the unit will be decreased. The enlargement of the kitchen and the bathroom with a separation of the wet and dry sections should be done. In terms of policy, 1) guidelines for the 5Ss principles should be devised to keep the unit tidy. 2) An annual survey of residents should be carried out and 3) the existing rules and regulations of the residency should be strictly enforced.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51332
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773555025.pdf17.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.