Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51374
Title: การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะชีวิตและอาชีพแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี
Other Titles: DEVELOPMENT OF TSET ITEM SPECIFICATIONS OF THE 21st CENTURY LIFE AND CAREER SKILL SCALES FOR UNDERGRADUATE STUDENTS
Authors: จารุวรรณ เติมสุข
Advisors: โชติกา ภาษีผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimorn.J@chula.ac.th,aimornj@hotmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะชีวิตและอาชีพแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี และ 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะชีวิตและอาชีพแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี ตามลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯ ที่พัฒนาขึ้น โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯ และระยะที่ 2 การพัฒนาแบบวัดฯ ตัวอย่างที่ใช้ในกาวิจัยครั้งนี้คือ นิสิตนักศึกษาปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของมหาวิทยาลัย ในเขตกรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จึงได้ตัวอย่าง จำนวน 630 คน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯ ของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี แบบประเมินลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯ และแบบวัดฯ ซึ่งมีรูปแบบข้อคำถามเป็นแบบวัดที่มีรูปแบบผสม ได้แก่ แบบหลายตัวเลือก แบบเขียนตอบ และแบบเรียงลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงบรรยายและการหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยพิจารณาจากการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (T–Test Independent) ด้วยโปรแกรม SPSS การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (CFA) ด้วยโปรแกรม LISREL และการหาค่าความเที่ยงโดยพิจารณาจากค่าความสอดคล้องภายในด้วยการใช้สูตร Cronbach’s alpha ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯ ซึ่งมีองค์ประกอบของลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯ ได้แก่ บทนำ คำแนะนำในการใช้งาน วัตถุประสงค์ของการทดสอบ ทักษะที่กำหนด หลักการพัฒนาแบบวัด รูปแบบของแบบวัด สื่อที่ใช้ในการทดสอบ คำแนะนำในการพัฒนาข้อคำถาม โครงสร้างของแบบวัดฯ ลักษณะเฉพาะของข้อคำถาม เกณฑ์การประเมินผล และตัวอย่างแบบวัดฯ มีผลการประเมินคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.25 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดฯ ตามลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯ โดยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่าน การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Chi-square = 47.72, df =40, P=0.19, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.02) การตรวจสอบความเที่ยงของแบบวัดฯ มีค่าความเที่ยงในระดับสูง (α = 0.75) และการพิจารณาจากการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (T–Test Independent) พบว่า ข้อคำถามของแบบวัดฯ ในภาพรวมสามารถจำแนกความสามารถของนิสิตนักศึกษาได้
Other Abstract: The purpose of this research were 1) to develop and verify the quality of test item specifications of the 21st century life and career skill scales for undergraduate students and 2) to develop and verify the quality of a skill test that was made from test item specifications. There were two sequential phrases of study; i.e., 1) Development of test item specifications and 2) Development of test. The research sample is consisted of undergraduate students in 2nd semester of 2015 of the universities in Bangkok and perimeter province, using a multi-stage random sampling. Totally were 630 undergraduate students. The research instruments were test item specifications, test item specifications evaluation form, and skill test that has mixed format including multiple choice, open writing, and rearrange. Data were analyzed by using SPSS for descriptive analysis and t-test independence, LISREL for CFA analysis, and Cronbach’s alpha Formulation for reliability. The research findings were as follows: 1) Development of test item specifications of the 21st century life and career skill scales for undergraduate students consisted of Introduction, Test item specifications manual, Objective of test item specifications, Objective of test, Components of the 21st century life and career skill for undergraduate students, Test development principles, Test formats, Test Stimulus Materials, Test development guidelines, Table of specifications, Item specifications, Evaluation criteria, and Sample items. The total quality evaluation result was in high level (Mean=4.25, SD=0.60). 2) The quality of skill test that was made from test item specifications are consisted of content validity by 10 experts and construct validity (Chi-square = 47.72, df =40, P=0.19, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.02). The reliability was in high level (α=0.75) and the result of t-test independent has shown that most items had the qualification to classify undergraduate students’ ability.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51374
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783809127.pdf10.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.