Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51399
Title: STRENGTHENING WATER GOVERNANCE IN VIETNAM: A CASE STUDY OF COMMUNITY RESPONSE TO WATER INSECURITY IN VINH QUANG WARD, RACH GIA CITY, KIEN GIANG PROVINCE, VIETNAM
Other Titles: การเพิ่มความเข้มแข็งด้านการกำกับดูแลน้ำในเวียดนาม : กรณีศึกษาของการตอบสนองของชุมชนต่อความไม่มั่นคงในเรื่องของน้ำในเขตวินห์กวาง เมืองลักย้า จังหวัดเกียนยาง ประเทศเวียดนาม
Authors: Phuong Tran Lan Pham
Advisors: Carl Middleton
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Political Science
Advisor's Email: Carl.M@Chula.ac.th,carl.chulalongkorn@gmail.com
Subjects: Water demand management -- Vietnam
Water security
การจัดการความต้องการน้ำ -- เวียดนาม
ความมั่นคงด้านน้ำ
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Vinh Quang Ward is a coastal ward of Rach Gia City, Kien Giang Province which is located in Mekong Delta of Vietnam. Local people deal with water shortage for their domestic use because of salinity intrusion about one month of April 2016. The purpose of this thesis is to understand and improve water governance so as to strengthen water security in Vinh Quang Ward. There were two major concepts for this thesis, namely water security and water governance. For this research, I interviewed twenty-five people in three different villages to have an overview about the issue throughout two years. I interviewed one academic from An Giang University and one from Southern Institute of Water Resources Research to learn about how severe salinity intrusion was. During drought, the piped water distribution system is insufficient so local people struggled with water to reach their daily demand. I also figured out the impacts on local people’s health, livelihood, and business, especially the poor and women. The poor and women who are located further far from centre of city relied on ground water for their domestic use which was not good at quality. This study also revealed weak water governance in Vietnam. The argument of this thesis is that water governance must be strengthened. In other words, water insecurity is not a result of physical water scarcity alone, but also relates to how decisions are taken towards how to address this issue.
Other Abstract: ตำบลวินห์กวางซึ่งเป็นพื้นที่ชายฝั่งในเมืองราชเกียจังหวัดเกียนยาง ของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงของเวียดนาม คนท้องถิ่นที่นี่กำลังรับมือกับปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคภายในครัวเรือนอันเป็นผลสืบเนื่องจาก ปัญหาน้ำเค็ม ปัญหาดังกล่าวนี้เกิดขึ้นล่าสุดช่วงเดือนเมษายน ปี 2016 ซึ่งส่งผลต่อปัญหาความแห้งแล้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นกว่าเมื่อสองปีที่แล้ว อันเป็นผลสืบเนื่องจาก ปัญหาความแห้งแล้งขั้นรุนแรง, สภาวะโลกร้อน, ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างความต้องการใช้น้ำทางตอนบนและตอนล่าง มีการคาดการณ์ว่าปัญหาการรุกของน้ำเค็มจะทวีความรุนแรงขึ้นอีกในปีต่อๆไป วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้แนวคิดหลัก 2 แนวคิดด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย แนวคิดความมั่นคงทางน้ำ (Water security) และแนวคิดการบริหารจัดการน้ำ (Water governance) สำหรับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์คนท้องถิ่นจำนวน 20 คนเกี่ยวกับปัญหาในช่วงสองปีที่ผ่านมา อีกทั้งผู้วิจัยได้มีโอกาสสัมภาษณ์กลุ่มเยาวชน, กลุ่มสตรีและสภากาชาดในระดับตำบล เพื่อสอบถามในเรื่องการทำงานร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นในเรื่องการช่วยเหลือและบรรเทาความขาดแคลนน้ำให้กับคนท้องถิ่น ในการลงวิจัยภาคสนาม ผู้วิจัยได้เรียนรู้ถึงประสบการณ์ในการขาดแคลนน้ำเป็นเวลาหลายวัน จากการสังเกตการณ์ ผู้วิจัยพบว่าคนในท้องถิ่นประสบกับความยากลำบากต่อการใช้น้ำในชีวิตประจำวัน ทั้งที่น้ำคือปัจจัยพื้นฐานของประชาชนทุกคน ในหน้าแล้งในตำบลวินห์ กวาง ท่อน้ำเพื่อจ่ายน้ำสำหรับคนในท้องถิ่นไม่เพียงพอ ทั้งนี้สำหรับคนยากจนและผู้คนที่อยู่ไกลออกไปจากกลางใจเมือง ต้องพึ่งพาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคภายในครัวเรือนซึ่งไม่ถูกสุขลักษณะ ในปีที่กำลังจะมาถึงนี้ ในตำบลวินห์ กวาง ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาน้ำเค็มจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นอีก ดังนั้นประเด็นเรื่องความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำ และการบริหารจัดการน้ำควรจะอยู่ในวาระของรัฐบาลและของชุมชน สิ่งสำคัญคือคนชายขอบควรจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงน้ำมากขึ้น รวมไปถึงคนในท้องถิ่นควรจะได้ส่งเสียงถึงปัญหาที่เกี่ยวกับน้ำต่อรัฐบาลท้องถิ่นให้มากกว่านี้ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เสนอว่าในการแก้ไขการบริหารจัดการน้ำในเวียดนาม ชุมชน คนรากหญ้าและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐมีส่วนสำคัญในการเข้ามาบริหารจัดการน้ำในท้องถิ่น โดยที่การมีส่วนร่วมของกลุ่มคนเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการน้ำในชุมชน
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: International Development Studies
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51399
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.338
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.338
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5881214424.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.